ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น กรณีศึกษา : องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

สุนา ผาด่านแก้ว

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง “ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช” เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะทางประชากรศาสตร์กับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 3) เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการรับสื่อกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ในการศึกษาครั้งนี้ใช้จำนวนประชากรที่มีสิทธิเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 7,747 คน สุ่มตัวอย่างมา จำนวน 366 ตัวอย่าง โดยการใช้สูตรเครซี่และมอร์แกนด์  จากนั้นนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาประมวลผลข้อมูล การศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้ สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงวิเคราะห์เพื่อใช้อธิบายลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง (Descriptive Statistic) ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่า T-Test independent One Way Anova (F-Test) ใช้ทดสอบสมมติฐานเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ Pearson’s product moment correlation coefficient ใช้หาค่าความสัมพันธ์พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่น กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05


ผลการวิจัยพบว่า 1.ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีดังต่อไปนี้ ปัจจัยด้านคุณสมบัติของผู้สมัคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (4.17) และ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อเรียงตามลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ อยู่ในระดับมาก ได้แก่ มีอัธยาศัยดี เป็นกันเอง และไม่ถือตัว มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (4.30) มีความเมตตา กรุณาต่อผู้อื่น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (4.29) เป็นผู้ที่มีการศึกษาอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (4.24) มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการบริหารงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (4.23) เป็นคนที่ผู้คนรู้จัก และคุ้นเคย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19 มีผลงานพัฒนาท้องถิ่นมาก่อน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (4.12) เป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์ ซื่อตรง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (4.04) เป็นผู้ที่มีความเข้าอกเข้าใจ เข้าถึงประชาชนได้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (3.93) ปัจจัยด้านนโยบาย โดยรวมอยู่ในระดับมาก (4.09) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อมีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจาก มากไปน้อยได้ ดังนี้ ส่งเสริมความสะอาดบริเวณที่ต่าง ๆ  ในแต่ละเขตพื้นที่ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (4.20)  ซ่อมแซม และบำรุงรักษาถนน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (4.13)  สนับสนุนแหล่งท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มรายได้ ให้กับชุมชน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (4.12)  สร้างอาชีพให้กับประชาชน เพื่อเพิ่มรายได้ เสริมให้กับประชาชน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (4.12)  จัดงบประมาณเพื่อสนับสนุนอุปกรณ์ ทางการแพทย์ หรือด้านสาธารณสุข มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (4.10)  จัดกิจกรรมสานสัมพันธ์ระหว่างเขตพื้นที่ที่แต่ละเขต มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (4.08)  สนับสนุนให้ประชาชนออกกำลังกาย และเล่นกีฬา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (4.07)  ปราบปรามเรื่องยาเสพติดในเขตพื้นที่ และ คุ้มครองประชาชน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (4.02)  สนับสนุนด้านการศึกษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (3.98) ปัจจัยด้านการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง โดยรวมอยู่ในระดับมาก (3.47) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ มีค่าเฉลี่ย เรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ ดังนี้ ติดตั้งป้ายไวลนิลขนาดใหญ่ในแต่ละเขตพื้นที่หมู่บ้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (3.70) การใช้สื่อวิทยุ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (3.59) ติดแผ่นใบปลิวหาเสียงตามที่ต่าง ๆ ในแต่ละหมู่บ้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (3.49) หาเสียงโดยใช้รถแห่กระจายเสียงมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (3.39) เดินหาเสียงโดยเคาะประตูตามบ้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (3.34) ใช้โซเชียลมิเดีย เช่น เฟสบุ๊ค อินสตาแกรม ไลน์ในการหาเสียง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (3.33) ปัจจัยด้านสื่อบุคคลที่มีอิทธิพล โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (3.13) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อมีค่าเฉลี่ย เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ บุคคลในครอบครัว/ญาติ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (3.53) อยู่ในระดับปานกลางได้แก่  เพื่อนสนิท/กลุ่มเพื่อนที่ทำงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (3.33)  ผู้นำชุมชนที่เคารพนับถือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (3.24)  ครู/อาจารย์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (2.87)  เพื่อนบ้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (2.68)  2.ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า ในภาพรวม เพศ อายุ อาชีพ ไม่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกตั้งในส่วนของระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกตั้งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  3. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การเปิดรับสื่อสิ่งพิมพ์ มีสหสัมพันธ์เชิงบวกกับการตัดสินใจเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 สื่อรถแห่ และสื่ออินเทอร์เน็ต ไม่มีสหสัมพันธ์เชิงบวกต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

Article Details

How to Cite
[1]
ผาด่านแก้ว ส., “ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น กรณีศึกษา : องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช”, ้่j of human, ปี 13, ฉบับที่ 2, น. 25–46, ธ.ค. 2023.
บท
บทความวิชาการและบทความวิจัย

References

กมุทเชษฐ์ หงส์ทอง. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งนายกเทศมนตรี

เทศบาลนครสมุทรสาครจังหวัดสมุทรสาคร ศึกษาในห้วงเวลาปี พ.ศ. 2558” สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (สื่อสารการเมือง) วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก.

โกวิทย์ พวงงาม. (2544). การปกครองท้องถิ่นไทย, กรุงเทพมหานคร : บริษัท สำนักพิมพ์วิญญูชนจำกัด.

ชูศักดิ์ เที่ยงตรง. (2558). การบริหารการปกครองท้องถิ่นไทย, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เทพชัย ประมาณพาณิชย์. (2558). “ความคาดหวังของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งนายกเทศมนตรี ศึกษากรณีเขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี” สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สื่อสารการเมือง) วิทยาลัยสื่อสารเมือง มหาวิทยาลัยเกริก.

บัณฑิต ภูกิ่งหิน (2560) “ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี : ศึกษาในห้วงเวลา ปี พ.ศ. 2559” สารนิพนธ์รัฐศาสตร

มหาบัณฑิต สื่อสารการเมือง) วิทยาลัยสื่อสารเมือง มหาวิทยาลัยเกริก.

ปิยะรัตน์ สนแจ้ง. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร : ศึกษากรณีประชาชนกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2562 สารนิพนธ์

รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สื่อสารการเมือง) วิทยาลัยสื่อสารเมือง มหาวิทยาลัยเกริก.

นันทนา นันทวโรภาส. (2558). สื่อสารการเมือง ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : แมสมีเดีย.

นพเมศร์ เจริญนพพงศ์. (2556). "ปัจจัยเรียนต่อการตัดสินใจเลือกตั้งนายกเทศมนตรี ศึกษากรณีเทศบาล นครนครปฐม จังหวัดนครปฐม” สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (สื่อสารการเมือง) วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก.

เพ็ญนภา วุฒิพิมลวิยา. (2558). “ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งนายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองกาญจนบุรีจังหวัดกาญจนบุรีในห้วงเวลา ปี 2558" สารนิพนธ์

รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (สื่อสารการเมือง) วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก.

วัชรา ไชยสาร. (2560). ระบบการเลือกตั้งกับการเมืองไทยยุคใหม่ พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : นิติธรรมการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2563). คู่มือการเลือกตั้งสำหรับประชาชน, โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน กรมการปกครอง ปทุมธานี.

สุจิต บุญบงการ. (2557). และพรศักดิ์ ผ่องแผ้ว “พฤติกรรมการลงคะแนนเสียงของคนไทย” ในหนังสือชุด จุฬาบริหารชุมชน ลำดับที่ 6. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อารี ไกรนรา. (2558). ปัจจัยทีมีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งนายกเทศมนตรี ศึกษากรณีเทศบาลนครเชียงใหม่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่” การนิพนธ์รัฐศาสตร

มหาบัณฑิต (สื่อสารการเมือง วิทยาลัยกล่าวการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก.

อุดม ทุมโฆสิต. (2562). การปกครองท้องถิ่นสมัยใหม่ : บทเรียนจากประเทศที่พัฒนาแล้ว กรุงเทพมหานคร : คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

โอฬาร ถิ่นบางเตียว. (2559). ตำราการปกครองท้องถิ่นไทย, สมุทรปราการ : พีเอ็นเตอร์ไพรส์ ซัพพลาย.

องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงเซา. (2564) สารกำแพงเซาสัมพันธ์, นครศรีธรรมราช

Clark, J.J. (1957) Outline of local government of the United Kingdom. London : Sir Issac Pitman and Son.

Holloway, William V. (1959). State and Local Government in the United States. New York : McGraw-Hill.

Lasswell, Harold D. (1948). The communication of ideas. New York: Harper and Brother publishers.

McNair, Brian. (1999). An Introduction to Political Communication, London: Routledge.