ผลกระทบทางสังคมภายหลังการรับร่าง พ.ร.บ. LGBTQ ทั้ง 4 ฉบับจากมติรัฐสภา

Main Article Content

สมถวิล เอี่ยมโก๋
เลหล้า ตรีเอกานุกูล
วิกรม บุญนุ่น

บทคัดย่อ

         บทความทางวิชาการผลกระทบทางสังคมภายหลังการรับร่าง พ.ร.บ. LGBTQ ทั้ง 4 ฉบับจากมติรัฐสภานี้มุ่งนำเสนอสภาพสถานการณ์ผลกระทบทางสังคมทั้งด้านบวกและด้านลบในสังคมภายหลังที่มีการรับร่าง พ.ร.บ. LGBTQ ทั้ง 4 ฉบับจากมติรัฐสภา อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ในด้านต่างๆในสังคม อาทิ การส่งเสริมและสร้างความเข้าใจเรื่องเพศและส่งเสริมการสร้างการยอมรับในด้านความเสมอภาค ความเท่าเทียม วิถีทางเพศของคนในสังคมที่มีต่อบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศต่อไปในอนาคต  ผลการศึกษาพบว่า ผลกระทบทางสังคมภายหลังการรับร่าง LGBTQ ทั้ง 4 ฉบับมีหลายด้านดังนี้ 1.ผลกระทบด้านความเสมอภาค ความเท่าเทียมในการแสดงออกทางความคิด สายตาและคำพูดของคนในสังคม มีดังนี้ 1)ผลกระทบด้านครอบครัว เป็นการส่งเสริมให้คนทั่วไปได้เล็งเห็นถึงการมีสถานะตัวตนของความเป็นมนุษย์ปุถุชนของผู้มีความหลากหลายทางเพศในสังคมมากขึ้น เกิดข่าวสารมีช่องทางการสื่อสารในการสร้างความเข้าใจ  สื่อให้ความร่วมมือในการประชาสัมพันธ์เนื้อหาในร่างแต่ละฉบับและกระตุ้นให้คนเข้าใจ ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัวและคนรอบข้างที่จะส่งผลให้เกิดการลดการรังเกียจเดียดฉันท์ต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศในสังคม 2)ผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจ ช่วยสนับสนุนและส่งเสริมการสร้างภาพลักษณ์และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอยู่ร่วมกันทุกเพศสภาพในสังคมและ เอื้อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการยอมรับและเข้าใจกลุ่ม LGBTQ จากคนรอบข้างและกระจายไปในทุกกลุ่มในสังคม โดยเฉพาะส่งผลดีกับตัวผู้มีความหลากหลายทางเพศเองทั้งในเชิงจิตศาสตร์และสังคมศาสตร์ 3)ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ช่วยส่งเสริมให้เกิดกระแสการสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ และมีหลากหลายสื่อที่มาช่วยสร้างให้เกิดความเช้าใจเกี่ยวกับกลุ่มความหลากหลายทางเพศมากขึ้น อาทิ ดาราต่างพากันพาเหรดออกมาช่วยประชาสัมพันธ์  อันจะส่งผลต่อการสร้างการยอมรับให้กับคนในสังคมเกี่ยวกับผู้มีความหลากหลายทางเพศในอนาคตมากขึ้น  จะเห็นได้จากเริ่มมีหน่วยงานต่างๆในสังคมเริ่มให้การสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมเพื่อให้โอกาสพัฒนาศักยภาพและจัดพื้นที่ทางสังคมกับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเพื่อให้เกิดการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อทุกคน อาทิการร่วมจัดกิจกรรมในเดือนไพล การสร้างเวทีพูดคุยประเด็นทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางเพศ  ในสถาบันการศึกษาอาทิ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช เป็นต้น กิจกรรมที่หน่วยงานจัดขึ้นจะส่งผลดีต่อการสร้างและให้โอกาสในการเข้าถึงสิทธิกับทุกเพศวิถีและสร้างความเสมอภาคในสังคมในอนาคตมากยิ่งขึ้น 2. ผลกระทบในด้านบวกจากสื่อสาธารณะ ช่วยออกข่าว การรับร่าง พ.ร.บ.การพูดคุยตามสถานีสื่อของบุคลที่เกี่ยวข้องดังจะเห็นได้จากข่าวและการประชาสัมพันธ์ เพราะเป็นประเด็นในกระแสจะช่วยส่งผลให้สถานการณ์การกดทับ การตีตราที่เคยเกิดขึ้นต่อบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศจากสื่อต่างๆ ในอดีต เกิดการเปลี่ยนแปลงไป เกิดการเข้าใจ เห็นใจกัน และมีปฏิสัมพันธ์อันดีต่อกันต่อหน้าและลับหลัง จะทําให้เกิดความรัก ความเคารพ การสงเคราะห์ อนุเคราะห์กัน มากกว่าการทะเลาะวิวาทกัน  จะช่วยเสริมสร้างความสามัคคีในสังคมให้มีมากขึ้นเกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งด้านพฤติกรรมและวิธีการดำเนินชีวิตของบุคคลต่างๆในสังคม โดยไม่แบ่งแยกเพศและเพศวิถี

Article Details

How to Cite
[1]
เอี่ยมโก๋ ส. ., ตรีเอกานุกูล เ. ., และ บุญนุ่น ว. ., “ผลกระทบทางสังคมภายหลังการรับร่าง พ.ร.บ. LGBTQ ทั้ง 4 ฉบับจากมติรัฐสภา”, ้่j of human, ปี 13, ฉบับที่ 1, น. 100–113, มิ.ย. 2023.
บท
บทความวิชาการและบทความวิจัย

References

ข่าวไทยรัฐ. (2022). พานิชย์ชี้ไม่มีใครเลือกเกิดได้ แต่ทุกคนเท่าเทียมกันตามกฎหมาย.ออนไลน์.

https://www.thairath.co.th/news/politic/2420307.ออนไลน์ เข้าถึงเมื่อ

มิถุนายน 2565

ข่าวBBC. (2022). การแต่งงานที่เท่าเทียมกัน: ผู้คนแห่กันไปแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับร่าง

พระราชบัญญัติแก้ไขกฎหมายแพ่งเปิดเพศเดียวกัน การแต่งงาน.https://www.bbc.com/thai/thailand-53322180. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2565. (ภาษาไทย)

ประชาไท. (2556). จากเพศที่ 2 ถึง 3: สถานะของการกดขี่และวาทกรรมแห่งเสรีภาพ.ออนไลน์.https: //prachatai.com/journal/2014/04/52738.

เข้าถึงเมื่อ 21 มิถุนายน 2565.

สมถวิล เอี่ยมโก และ กฤตเมธ บุญนุ่น. (2564). การตีตราและการกดทับ LGBTQ ในสังคมไทย.

วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.ปีที่ 12 ฉบับที่ 1.หน้าที่ 384-398.

หนังสือพิมพ์รายวัน ธุรกิจ ข่าวหุ้น. (2565). "LGBTQ+" เฮ! สภายอมรับร่างหลักการพระราชบัญญัติความเท่าเทียมในการสมรส – 4 พรบ.สมรส.ออนไลน์. https://www.kaohoon.com/news/539068. เข้าถึงเมื่อ 21 มิถุนายน 2565.