การพัฒนาสำรับอาหารพื้นถิ่น ตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและรวบรวมรายชื่ออาหารพื้นถิ่นและพัฒนาสำรับอาหารพื้นถิ่นในตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรีจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้การวิจัยแบบมีส่วนร่วม มีการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ จากผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประกอบการ ปราชญ์ชาวบ้านด้านอาหารพื้นถิ่น และสมาชิกกลุ่มชมรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนพรหมโลก สมาชิกชุมชนวัดพรหมโลก วิสาหกิจชุมชนบ้านในสวน(เรือนไทยพรหมคีรี) ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบล บ้านห้วยเตง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมกลุ่มย่อย การระดมความคิดเห็น และการทดลองปฏิบัติ เพื่อรวบรวมรายชื่ออาหารพื้นถิ่น สังเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญและย้อนกลับให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการพัฒนาเป็นสำรับอาหารพื้นถิ่น ผลการวิจัยพบว่า อาหารพื้นถิ่นที่คนในตำลพรหมโลกอำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราชรับประทานในชีวิตประจำวันสามารถรวบรวมรายชื่อได้ทั้งหมด 104 รายการ ซึ่งเป็นรายการอาหารที่สามารถพบได้โดยทั่วไป คนในท้องถิ่นนิยมรับประทานสืบเนื่องกันมาเป็นเวลานาน มีลักษณะเฉพาะถิ่นใช้วัตถุดิบในพื้นถิ่นเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร โดยเฉพาะวัตถุดิบตามฤดูกาลที่โดดเด่น ได้แก่ ลูกประ มังคุด กล้วย และดอกดาหลา ซึ่งสามารถนำมาปรุงอาหารได้หลากหลาย ทำให้รายการอาหารมีลักษณะเฉพาะตามช่วงฤดูกาล ส่วนการพัฒนาสำรับอาหารพื้นถิ่นแบบมีส่วนร่วมได้พิจารณาตามประเภทของอาหาร ความเข้ากันของรสชาติอาหารจัดเป็นสำรับได้ 7 สำรับ เมื่อพิจารณาวัตถุดิบตามฤดูกาล สามารถแบ่งได้ 3 ช่วงฤดูกาล ในแต่ละช่วงฤดูกาลมี 3 ชุด ที่สามารถนำมาเป็นแนวทางในการส่งเสริมอาหารพื้นถิ่น และสามารถนำวัตถุดิบที่โดดเด่นมาพัฒนาเป็นรายการอาหารได้ 3 รายการ จะเห็นได้ว่าเมื่อชุมชนมีองค์ความรู้ด้านอาหารของท้องถิ่นสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการเพิ่มรายได้กับตนเองและคนในชุมชน และยังเป็นการตระหนักถึงความสำคัญของวัตถุดิบที่มีเฉพาะในท้องถิ่นที่สามารถเพิ่มมูลค่า ภูมิปัญญาอาหารพื้นถิ่น และการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นซึ่งจะส่งผลให้วัฒนธรรมการกินอาหารพื้นถิ่นคงอยู่ต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสังคมมนุษย์
References
กติกา กลิ่นจันทร์แดง และศิริเพ็ญ ดาบเพชร. (2564). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารด้วยอัตลัษณ์ของอาหารท้องถิ่น, วารสารชุมชนวิจัย, 15 (3), 144-157.
ชุมชนคุณธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. (2561). ชุมชนพรหมโลก. ค้นเมื่อ พฤษภาคม 16, 2565 จาก https://moral.m-culture.go.th/destination-item/india/
ฐานข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว สำหรับนักท่องเที่ยวสูงอายุ. (ม.ป.ป.) ค้นเมื่อ พฤษภาคม 16, 2565 จาก http://www.me-fi.com/tourismdb/Seniortourists-ust/subdistric_detail.php.
ณัฎฐกานต์ พฤกษ์สรนันทน์ จุฑามาศ วิศาลสิงห์ ฐานกาญจน์ วงศ์วิศิษฎ์ศิลป์. (2560). แนวทางการสอดประสานวิถีไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ห่วงโซ่อาหารเพื่อเพิ่มคุณค่าและมูลค่าการท่องเที่ยว, วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 10 (2), 169-182.
ปวิธ ตันสกุล. (2562). แนวทางการส่งเสริมอาหารพื้นถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอาหาร กรณีศึกษาชุมชนขนาบนาก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช WMS Journal of Management Walailak University.9 (1) ค้นเมื่อ พฤษภาคม 16, 2565 จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php.
ผกาวดี ภู่จันทร์ และโสรัจวรชุม อินเกต. (2559), สำรับอาหารพื้นถิ่นเมืองพิษณุโลก, กระแสวัฒนธรรม, 17 (32), 3-16.
สุนีย์ วัฑฒนายน. (2014). 6 อาหารท้องถิ่น วัฒนธรรมการกินแบบพื้นบ้าน สืบสานสู่อาเซียน. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences. 1(1). ค้นเมื่อ พฤษภาคม 16, 2565 จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php.
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครศรีธรรมราช. (2559). กรมส่งเสริมวัฒนธรรม เลือกบ้านพรหมโลกให้เป็นชมุชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมประจำปี 2559. ค้นเมื่อ พฤษภาคม 16, 2565 จากhttp://www.nakhonpost.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539955870&Ntype=1