แผนปฏิบัติการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาโควิด 2019 (COVID-19) ในสถานกักขังกลางจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

ฤทัยรัตน์ กรมไธสง
กมลววรณ เทพจั้ง
อาภาภรณ์ บุญแจ่ม
วิเชียร ไทยเจริญ

บทคัดย่อ

          การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้ก่อให้เกิดภัยคุกคามร้ายแรงต่อความมั่นคงด้านสุขภาพ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม ประชากรในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับโลก หลายประเทศยอมรับว่าการควบคุมและป้องกันเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกเพื่อให้กลับมาสู่ภาวะปกติโดยเร็ว การปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการจะช่วยลดผลกระทบที่รุนแรงต่อสุขภาพและความเสียหายที่อาจเกิดแก่ทางราชการ ตลอดจนสร้างความมั่นใจว่าทุกคนสามารถเข้าถึงระบบบริการสุขภาพได้อย่างเท่าเทียมกันประเทศไทยได้มีการประกาศใช้มาตรการต่างๆ เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) โดยใช้มาตรการDMHTTAได้แก่ D : Distancing เว้นระยะระหว่างบุคคล หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้อื่น M : Mask wearing สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา H : Hand washing ล้างมือบ่อยๆ จัดให้มีจุดบริการเจลล้างมืออย่างทั่วถึงเพียงพอ T : Temperature ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายก่อนเข้าใช้บริการ เพื่อคัดกรองผู้ใช้บริการที่อาจไม่สบาย T : Testing ตรวจหาเชื้อโควิด 19 และ A : Application ติดตั้งและใช้แอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” และ “หมอชนะ” ก่อนเข้า - ออกสถานที่ทุกครั้ง และwork from home ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากประชาชนและทุกภาคส่วน ส่งผลให้แนวโน้มในการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ลดลง อัตราการตายก็ต่ำลงด้วย


          สถานกักขังกลางจังหวัดปทุมธานี มีจำนวนผู้ต้องกักขังมีอัตราหมุนเวียนรวดเร็ว สถิติการเข้ารับโทษและการปล่อยพ้นโทษมีทุกวัน ประกอบกับเป็นเรือนจำที่มีแดนชาย 1 แดนมีจำนวนห้องแยกกักโรค 8 ห้อง และแดนหญิง 1 แดน มีจำนวนห้องแยกกักโรคจำนวน 9 ห้อง ซึ่งแต่ละแดนมีจำนวนห้องกักโรคห้องและความจุที่จำกัด ประกอบสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19)เชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน  (Omicron) ที่สามารถแพร่กระจายและติดเชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น และในสถานกักขังกลางจังหวัดปทุมธานีเองกำลังประสบปัญหาในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) การปฏิบัติตามมาตรการของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขเป็นเรื่องที่ยาก เนื่องจากผู้ต้องกักขังมาจากหลายพื้นที่ ส่วนใหญ่เป็นต่างชาติ ร้อยละ 40 ซึ่งมาด้วยพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง (หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย) มีอัตราการหมุนเวียนรวดเร็ว การเข้า- ออกทุกวัน มีกำหนดโทษระยะสั้น ซึ่งเป็นโทษกักขังแทนค่าปรับ (500 บาท/1 วัน) หรือกักขังแทนจำคุก ไม่สามารถนำมากักตัวในห้องกักโรคตามระยะเวลาที่กำหนด 21 วันได้ วัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) มีจำนวนไม่เพียงพอในการใช้ป้องกันการแพร่ระบาด ดังนั้นบทความนี้จะได้นำเสนอแผนปฏิบัติการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19)ในสถานกักขังกลางจังหวัดปทุมธานี เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและชี้ให้เห็นถึงแนวทางในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) ในสถานกักขังกลาง จังหวัดปทุมธานี

Article Details

How to Cite
[1]
กรมไธสง ฤ. ., เทพจั้ง ก. ., บุญแจ่ม อ. ., และ ไทยเจริญ ว. ., “แผนปฏิบัติการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาโควิด 2019 (COVID-19) ในสถานกักขังกลางจังหวัดปทุมธานี”, ้่j of human, ปี 13, ฉบับที่ 1, น. 65–83, มิ.ย. 2023.
บท
บทความวิชาการและบทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. (2565). นิยามและแนวปฏิบัติตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคสำหรับผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับวันที่ 21 พฤษภาคม 2565. เข้าถึงเมื่อ 30 พฤษภาคม 2565 จากhttp://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_srrt/g_srrt_210565.pdf.

กรมควบคุมโรค. (2564). แนวทางการให้วัคซีนโควิด19 ในสถานการณ์ระบาดปี2564 ของประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด.

ศูนย์รวมความรู้เกี่ยวกับ Covid-19. (2565). ยืนยันตัวเลขผู้ติดเชื้อCovid-19ทั่วโลก. เข้าถึงเมื่อ 31 พฤษภาคม, 2565. จาก https://covid19.workpointnews.com.

Centers for Disease Control and Prevent. (2021). Guidance on Prevention and Management of Coronavirus Diseases 2019 (COVID-19) Correctional and Detention Facilities. Retrieved (2021, June 28) form https://www.cdc.gov/coronavirus/2019- ncov/community/correction-detention/guidance-correctional-detention.html.

Ministry of Public Health2. (2021). PreventionCOVID-19: Omicron Update 6 December 2021. Retrieved (2021, December 10) from https://moph.go.th (in Thai).

World Health Organization1. (2020). Coronavirus covid-19. Retrieved (2020, June 15) from https://www.who.int/health-topics/coronavirus#tab=tap_1.