การเลือกศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชของนักเรียนมัธยมศึกษา ตอนปลายปีที่ 6 ในโรงเรียนเขตพื้นที่เทศบาลนคร นครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเลือกศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายปีที่ 6 ในโรงเรียนเขตพื้นที่เทศบาลนคร นครศรีธรรมราชเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 318 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การเลือกศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายปีที่ 6 ในโรงเรียนเขตพื้นที่เทศบาลนคร นครศรีธรรมราช โดยภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (= 3.91) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านลักษณะทางกายภาพอยู่ในระดับมาก (=4.32) ด้านค่าใช้จ่ายในการศึกษาอยู่ในระดับมาก (=3.89) และด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยอยู่ในระดับมาก (=3.52)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสังคมมนุษย์
References
โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงคในพระบาทสมเด็จพระเจาอยู่หัว. (2551). สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ฉบับเสริมการเรียนรู เล่ม 6. (พิมพครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : รุงศิลป์การพิมพ
ชัยสิทธิ์ บุนนาค. (2559). การศึกษาและคุณธรรมนำพาชาติเจริญ. ค้นเมื่อ ธันวาคม 12, 2564, จาก https://www.ddproperty.com/.
พีรภูมิ แสงหิรัญ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจสมุทรปราการ. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 11(1), 26-37.
รุจิรา คงนุ้ย และเอกชัย เนาวนิช. (2559). ปัจจัยการเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 10(3), 105-110.
ศศิกาญจน์ เฟื่องสมบูรณ์. (2562). ปัจจัยในการเลือกศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพใน วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลนครปฐม. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 7(1), 48-58.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1. (2564). แบบฟอร์มการบันทึกข้อมูลการศึกษาต่อของนักเรียน. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2564, จากhttp://www.nstpeo.go.th/conedu.php.
Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.