แนวทางการส่งเสริมตลาดคู่ค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย กรณีศึกษา ตลาดตาบา หมู่ที่ 1 ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

Main Article Content

ณัฏฐิตา อีซอ
อุดมศักดิ์ เดโชชัย
เชษฐา มูหะหมัด
เดโช แขน้ำแก้ว

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย สภาพปัญหาคู่ค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย และแนวทางการส่งเสริมคู่ค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย กรณีศึกษา ตลาดตาบา หมู่ที่ 1 ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ


          ผลการวิจัยพบว่าคู่ค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย กรณีศึกษา ตลาดตาบา หมู่ที่ 1 ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส 1) การค้าชายแดน พบว่า เป็นการซื้อขายแลกเปลี่ยนระหว่างสองประเทศ พ่อค้า แม่ค้าจะเป็นคนที่อาศัยอยู่แถวบริเวณชายแดน สินค้ามีหลากหลายประเภทด้วยกัน สินค้าอุปโภคบริโภค ของใช้ในครัว และอาหารแห้ง 2) ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย-มาเลเซีย พบว่า มีลักษณะของความสัมพันธ์เหมือนพี่เหมือนน้อง อยู่กันแบบญาติไม่มีการแบ่งแยก จะผูกพันกันมาก ไม่มีข้อขัดแย้งกัน จะเข้าใจซึ่งกันและกัน 3) การส่งเสริมคู่ค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย พบว่า มีการส่งเสริมซึ่งกันและกัน เพื่อให้ทางฝั่งไทย และมาเลเซีย มีการค้าที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ ต่างช่วยกันสนับสนุนซึ่งกันและกันทั้ง 2 ประเทศมีความร่วมมือกันส่งเสริม และอำนวยความสะดวกทางการค้า สภาพปัญหาคู่ค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย กรณีศึกษา ตลาดตาบา หมู่ที่ 1 ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส 1) สภาพปัญหาด้านเศรษฐกิจ พบว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจตกต่ำอย่างมาก ทำให้เกิดผลกระทบด้านการค้าขาย ปัญหาการส่งออกสินค้า ปัญหาการขาดแคลลนแรงงาน 2) สภาพปัญหาด้านการสื่อสาร พบว่า ไม่ค่อยมีปัญหาการสื่อสาร เพราะส่วนใหญ่จะใช้ภาษามลายู เป็นภาษาที่พูดคุยกันเป็นประจำ 3) สภาพปัญหาด้านวัฒนธรรม พบว่า วัฒนธรรมจะเหมือนกันและคล้ายๆ กัน มีการผสมผสาน หรือเรียกว่าพหุวัฒนธรรม  ปัญหาความต่างด้านวัฒนธรรมไม่ค่อยจะต่างกัน 4) สภาพปัญหาด้านความเป็นอยู่ พบว่า ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ส่งปัญหา และผลกระทบต่อความมั่นคง และเป็นปัญหาระหว่างประเทศ แนวทางการส่งเสริมคู่ค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย กรณีศึกษา ตลาดตาบา หมู่ที่ 1 ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส 1) ด้านเศรษฐกิจ พบว่า ต้องมีความร่วมมือกันทั้งสองฝ่าย การสร้างเศรษฐกิจให้เข้มแข็ง โดยที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจการค้าเพื่อพัฒนาให้ดีขึ้น สนับสนุนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว 2)  ด้านการสื่อสาร พบว่า แต่ละฝ่ายจะต้องปรับตัว และยอมรับในการสื่อสารของแต่ละคน ต้องมีการใช้ภาษาที่ทั้งสองฝ่ายเข้าใจ 3) ด้านวัฒนธรรม พบว่า ต้องยอมรับวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน  โดยมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมโดยที่ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน 4) ด้านความเป็นอยู่ พบว่า มีการสร้างค่านิยมการให้เกียรติซึ่งกันและกัน เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการดำรงชีวิต จะต้องสร้างมิตรภาพเป็นสิ่งสำคัญ และการยอมรับสภาพสังคม และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน

Article Details

How to Cite
[1]
อีซอ ณ., เดโชชัย อ., มูหะหมัด เ., และ แขน้ำแก้ว เ. ., “แนวทางการส่งเสริมตลาดคู่ค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย กรณีศึกษา ตลาดตาบา หมู่ที่ 1 ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส”, ้่j of human, ปี 11, ฉบับที่ 2, น. 112–131, ธ.ค. 2021.
บท
บทความวิชาการและบทความวิจัย

References

เกษรา หลิมพาณิชย์. (2539). การค้าของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน. กรุงเทพมหานคร : วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชปา จิตต์ประทุม. (2542). ไทยกับมาเลเซีย. กรุงเทพมหานคร : สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นิพนธ์ ทิพย์ศรีนิมิต. (2550). ตัวตนทางวัฒนธรรมของคนไทยในรัฐตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย.(วิทยานิพนธ์)ปริญญาดุษฎีบัณฑิต)มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,มหาสารคาม.

พรชัย นาคสีทอง. (2552). รายงานวิจัยชุดโครงการวิจัย “มาเลเซีย: นัยที่สำคัญต่อไทย” เรื่องคนไทยในรัฐเกดะห์ (ไทรบุรี): ศึกษาการดำรงอยู่ในมิติประวัติศาสตร์ (พ.ศ. 2452 –2550). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.).

พีรยุทธ โอรพันธ์. (2551). การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสารมลายูในพื้นที่ชายแดนภคใต้ของประเทศไทย และชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยในรัฐกลันดันประเทศมาเลเซีย.วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สื่อสารมวลชน) คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มงคล ด่านธานินทร์. (2541). เศรษฐกิจเชิงระบบ:หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: กรมการปกครอง.

มณฑล คงแถวทอง. (2539). เศรษฐกิจข้าวและน้ำตาลทรายในลุ่มแม่น้ำบางประกงระหว่าง พ.ศ.2420-2500. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เมตตา วิวัฒนานุกูล. (2548). การสื่อสารต่างวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุจิตรตรา ฤทธิ์สกุลชัย. (2557). การค้าชายแดนระหว่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว-ไทย ค.ศ.2007-2013. มหาสารคาม: โรงพิมพ์อภิชาตการพิมพ์.

อมรา พงศาพิชญ์. (2541). วัฒนธรรม ศาสนา และชาติพันธุ์วิเคราะห์สังคมไทยแนวมนุษยวิทยา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อังคณา นีละไพจิตร. (2553). รายงานการวิจัยเรื่องบทบาทและความท้าทายของผู้หญิงมลายูมุสลิมท่ามกลางความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ.

อาธิ ครูศากยวงศ์. (2545). การค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย. สุราษฎร์ธานี : สถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี.