กลยุทธ์การกำหนดราคาที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นในสถานการณ์ covid-19 ของผู้บริโภคเขตอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

เสาวคนธ์ ศรีสุคนธรัตน์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


 


            การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การกำหนดราคาที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นในสถานการณ์ covid-19 ของผู้บริโภคเขตอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต       กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่มีการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นในตลาดชิลล์วา ตลาดเจ้าฟ้าวาไรตี้     (ตลาดนาคา) หลาดจี ตลาดปล่อยของ และร้านค้าทั่วไปที่จำหน่ายเสื้อผ้าแฟชั่น ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต จำนวน 400 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling)                                 โดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยเป็นแบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson  Product  Moment  Correlation)


            ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี เพศหญิง อายุ 21-25 ปี    รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาท มีสถานภาพโสด และมีพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นประเภทชุดเดรส สถานที่ซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นที่นิยม คือ ตลาดชิลลวา มีความถี่ในการซื้อ 3 - 4 ครั้งต่อเดือน และใช้เงินในการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่น น้อยกว่า 500 บาท


            ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของเสื้อผ้าแฟชั่นในสถานการณ์ covid-19 พบว่า ผู้บริโภคมีความคิดเห็นในระดับมากต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของผู้บริโภคในสถานการณ์ covid-19 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า    ด้านที่มีระดับความสำคัญระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ รองลงมา คือ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ


            ความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นในสถานการณ์ covid-19 พบว่า ผู้บริโภคที่มีการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับความสำคัญมากที่สุด ได้แก่ การตระหนักถึงความต้องการ รองลงมา คือ การประเมินทางเลือก การค้นหาข้อมูล การประเมินผลหลังการซื้อ และการตัดสินใจซื้อ ตามลำดับ


            ความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อกลยุทธ์การกำหนดราคาเสื้อผ้าแฟชั่นในสถานการณ์ covid-19 พบว่า ผู้บริโภคมีความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อกลยุทธ์การตั้งราคาเสื้อผ้าแฟชั่นในระดับมาก           เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับความสำคัญระดับมากที่สุด ได้แก่ การตั้งราคาเพื่อการส่งเสริมการตลาด และการตั้งราคาสูงและการตั้งราคาต่ำ รองลงมา คือ การตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา ตามลำดับ


            การทดสอบสมมติฐาน พบว่า ในสถานการณ์ covid-19 กลยุทธ์การกำหนดราคามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับกระบวนการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นในระดับต่ำ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การตั้งราคาตามหลักจิตวิทยามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับกระบวนการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สำหรับการตั้งราคาสูงและการตั้งราคาต่ำ  การตั้งราคาเพื่อการส่งเสริมการตลาด มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่น ในสถานการณ์ covid-19 ในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


 


คำสำคัญ : กลยุทธ์การกำหนดราคา กระบวนการตัดสินใจซื้อ เสื้อผ้าแฟชั่น สถานการณ์covid-19

Article Details

How to Cite
[1]
ศรีสุคนธรัตน์ เ., “กลยุทธ์การกำหนดราคาที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นในสถานการณ์ covid-19 ของผู้บริโภคเขตอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต”, ้่j of human, ปี 11, ฉบับที่ 1, น. 26–44, ส.ค. 2021.
บท
บทความวิชาการและบทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. (2563). ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่2019. [เว็บไซต์]. วันที่สืบค้น 9 ธันวาคม 2563. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/situation.php.
กัญญ์วรินร์ สาทา. (2562). กระบวนการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านช่องทางออนไลน์ ในเขต กรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยสารสนเทศและเทคโนโลยี. สาขาการตลาด คณะ บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). หลักสถิติ. โรงพิมพ์สามลดา. กรุงเทพมหานคร.
จงรัก ใจโต. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปตราสินคาไทยที่ผลิต ภายในประเทศไทยของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. บทความวารสาร. สาขา บริหารทั่วไป คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
ชิตาภรณ์ ศักดิ์โกมลพิทักษ์.(2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการตลาดนัดตอน กลางคืน ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณัญช์คณัส ปานเสมศรี. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นนำเข้าจาก ต่างประเทศของวัยรุ่นในสยามสแควร์. สารนิพนธ์. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขา การตลาด. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธัญญ์ธิชา รักชาติ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคในการเลือกใช้บริการ
ร้านอาหารญี่ปุ่นในศูนย์การค้าอยุธยาซิตี้พาร์ค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
การค้นคว้าอิสระ. หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ.
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
นัทวัฒน์ นคราวงศ์. (2561). การกระตุ้นความตั้งใจซื้อสินค้าแบรนด์เนมโดยใช้กลยุทธ์การตั้งราคา ต่ำกว่าจำนวนเต็ม. วิทยานิพนธ์. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
นันทพร ศรีธนสาร. (2561). ลักษณะพฤติกรรมและปัจจัยต่อการเลือกซื้อเสื้อผ้าออนไลน์ของ ผู้หญิงพลัสไซส์ผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก. วิทยานิพนธ์. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะนิเทศ ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ปฏิพาร์ เพชรศิริ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าในเขตตลาดโบ๊เบ๊ของธุรกิจค้า ปลีก. วิทยานิพนธ์. สาขาวิชาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2563). จับชีพจรธุรกิจแฟชั่นไทย อ่อนแรงมากไหมในยุคโควิด.
[เว็บไซต์]. วันที่สืบค้น 20 พฤศจิกายน 2563. สืบค้นจาก
https://www.prachachat.net/d-life/news-445682.
ปาริชาติ วงษ์ทองดี. (2558). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของผู้บริโภค ในเต ลาดนัดสวนจตุจักร กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.
รัตนา โพธิวรรณ์ และคณะ. (2562). การใช้ปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้า
แฟชั่นของผู้บริโภคในเขตจตุจักรกรุงเทพมหานคร. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุม
วิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2562. วันที่ 26 เมษายน 2562.
หน้า 837-846.
วริศ อนันต์สกุลวัฒน์. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของผู้ชายอ้วน.
การค้นคว้าอิสระ. สาขาวิชาการบริหารการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วุฒิ สุขเจริญ. (2562). วิจัยการตลาด. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.