นวัตกรรมการประชาสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ผ่านการสื่อสารเครือข่ายสังคมออนไลน์ “พีอาร์ยุคโควิด ต้องพลิกวิกฤติเป็นโอกาส”
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ความก้าวหน้าพัฒนาการทางอินเทอร์เน็ต (Internet) และสื่อสังคมออนไลน์ (Online Social Media) ส่งผลต่อวิวัฒนาการอีกขั้นของการประชาสัมพันธ์ยุคดิจิทัล ดังนั้นการดำเนินงานประชาสัมพันธ์
ต้องปรับตัวอย่างมาก โดยเฉพาะการประชาสัมพันธ์องค์กรรัฐจากรูปแบบเดิมสู่รูปแบบใหม่ที่ก้าวทันเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีผลต่อการรับรู้ข่าวสาร ทัศนคติ พฤติกรรม และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร
และกลุ่มเป้าหมาย โดยองค์กรควรปรับตัวให้เข้ากับพัฒนาการของสื่อสังคมออนไลน์ (Online Social Media)
เพื่อใช้เป็นนวัตกรรมการประชาสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ผ่านการสื่อสารเครือข่ายสังคมออนไลน์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สื่อสังคมออนไลน์ ที่ได้รับความนิยมอย่างมากสําหรับประเทศไทย ได้แก่ บล๊อก ทวิตเตอร์ เฟสบุ๊ก และเว็บยูทูบ เครื่องมือเหล่านี้สามารถให้ข้อมูลข่าวสาร สร้างการมีส่วนร่วม สร้างความผูกพันระหว่างองค์กรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อันนํามาซึ่งชื่อเสียง ภาพลักษณ์ และการสนับสนุนองค์กร
Solis (2008) ได้ระบุว่าสื่อสังคมออนไลน์ถือเป็นวิวัฒนาการที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์
ของการประชาสัมพันธ์ในแวดวงประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กรต่างยอมรับว่าสื่อสังคมออนไลน์เป็นแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ(best practice) ในแง่เป็นเครื่องมือที่เอื้อต่อการสื่อสารแบบสองทาง
(two way communication) ช่วยให้การปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับสาธารณะและผู้ที่เกี่ยวข้อง
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ (Grunig, & Dozier, 2003)เสมือนหนึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวก
ในการสื่อสารเพื่อช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน(Hon, & Grunig, 1999 ; Kent, & Taylor, 2002; Ledingham, 2006) ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสในการประชาสัมพันธ์ขององค์กร
อย่างไรก็ตามสื่อสังคมออนไลน์จัดเป็นสื่อใหม่ (new media) (Lister, 2009) ได้ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน รวมทั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ที่ขับเคลื่อนงานประชาสัมพันธ์รูปแบบใหม่ จนได้รับการยกย่องเชิดชู เกิดการยอมรับ เชื่อมั่น จากกลุ่มเป้าหมายมาอย่างต่อเนื่อง ผลพวงมาจากการดำเนินงานประชาสัมพันธ์เชิกรุกที่มีการวางแผนและการจัดการการนำสื่อสังคมออนไลน์มาใช้กับงานประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กรอย่างเป็นระบบ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสังคมมนุษย์