การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชน ตำบลท่าขนอน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

ทัชณีย์ บุญทิพย์

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชนตำบล        ท่าขนอน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชนตำบลท่าขนอน 2) กระบวนการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนโดยชุมชนตำบลท่าขนอน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการวิจัยระหว่างเดือนมิถุนายนพ.ศ. 2562 ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2563 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 21 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอข้อมูลในลักษณะพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชนตำบลท่าขนอนทั้ง 5 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการบริการนักท่องเที่ยว พบว่า ชาวบ้านรวมตัวกันตั้งกลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านยวนสาว เพื่อบริการท่องเที่ยว จุดเด่น หินช้าง หินพัด น้ำตกยวนสาว จุดด้อยด้านการบริการยังมีไม่เพียงพอ 2) ด้านการจัดการที่พัก จุดเด่น มีบ้านพักและโฮมสเตย์ไว้บริการ ราคาไม่แพง ที่พักสะอาดได้มาตรฐาน นอนดูดาว ทานข้าวบนแคร่ เช้าดูทะเลหมอก จุดด้อย คือ บ้านพัก/โฮมสเตย์ มีไม่เพียงพอ 3) ด้านร้านอาหาร-ของที่ระลึก จุดเด่นคือ มีอาหารพื้นบ้านแนะนำ รสชาติอร่อย จุดด้อย คือ ร้านอาหารยังมีน้อย และของที่ระลึกยังไม่หลากหลาย 4) ด้านรถรับ-ส่ง จุดเด่น เน้นความปลอดภัยเป็นหลัก ขับรถดีมีน้ำใจ จุดด้อย คือ คนขับรถมีไม่เพียงพอ 5) ด้านมัคคุเทศก์  จุดเด่นคือแนะนำให้ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวดี จุดด้อย คือ ขาดความรู้ด้านภาษาอังกฤษ และมัคคุเทศก์ยังมีไม่เพียงพอ 2. กระบวนการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนโดยชุมชนตำบลท่าขนอน ทั้ง 5 ด้าน ดังนี้ 1) การกระจายรายได้ พบว่า เกิดการกระจายรายได้สู่เศรษฐกิจฐานรากได้เป็นอย่างดี 2) เกิดการจ้างงานและสร้างรายได้ ชุมชนมีอาชีพ มีงานทำ และมีรายได้จากการท่องเที่ยว 3) ลดความยากจนในชุมชน ชาวบ้านมีฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้นพอกินพอใช้และพอเพียง 4) นักท่องเที่ยววิถีชีวิตชุมชน เรียนรู้และเข้าใจ พบว่า นักท่องเที่ยวได้เข้าใจและเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนด้านปัจจัย 4 เรียนรู้ธรรมชาติ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม 5) การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน โดยชุมชนตำบลท่าขนอนร่วมกันคิด ร่วมวางแผน           ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมรับผลประโยชน์จากการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน

Article Details

How to Cite
[1]
บุญทิพย์ ท., “การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชน ตำบลท่าขนอน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี”, ้่j of human, ปี 10, ฉบับที่ 2, น. 81–93, มี.ค. 2021.
บท
บทความวิชาการและบทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (2555-2559). เอกสารเผยแพร่, 2554.
เทศบาลตำบลท่าขนอน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี. การท่องเที่ยวหินพัด. ค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2562, จาก https://www.thakhanoncity.go.th, 2562.

ปิยวรรณ คงประเสริฐ.การท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบบูรณาการเพื่อการวางแผนพัฒนาการ
ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตร มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2551.
รัตนาวดี จุลพันธ์. การมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของประชาชนในท้องถิ่น กรณีศึกษา เกาะล้าน จังหวัดชลบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล,2547.
เรืออากาศโทหญิงกมลชนก จันทร์เกตุ. การจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืนกรณีศึกษา : ชุมชนเกาะยอ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต(บริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ) สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ สำหรับนักบริหาร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560.
วีระศักดิ์ กราปัญจะ.รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชนบ้านอ่าวท่าเลน-บ้านท่าพรุ. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการจัดการการเกษตร สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553.
สำนักงานการท่องเที่ยวจังหวัดสุราษฎร์ธานี.(2009). แหล่งท่องเที่ยว. ค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2562,จาก www.thaitourism.or.th
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุราษฎร์ธานี. การท่องเที่ยวชุมชน. ค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2562 จาก https://suratts.mots.go.th/, 2562.
อิทธิพล โกมิล. รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์:กรณีศึกษาบ้านวังน้ำมอก อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัด หนองคาย. รายงานวิจัยโครงการวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย จากสำนักงานคณะกรรมการ วัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรมประจำปีงบประมาณ 2543, 2553.