A Study of the Capability of Village Health Volunteer Leaders in 2019

Main Article Content

ศุภัคชญา ภวังคะรัต

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถของผู้นำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้นำองค์กร อสม. จำนวน 629 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 88.24 มีอายุระหว่าง 51-60 ปี ร้อยละ 45.95 มีการศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 53.10 ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 61.05 มีความรู้ ประสบการณ์การฝึกอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับ อสม. 4.0 ร้อยละ 96.03 และพบว่า ความสามารถของผู้นำ อสม. ด้านทักษะการใช้เทคโนโลยี ผู้นำการจัดการสุขภาพชุมชน และทักษะการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน มีความสัมพันธ์กับการ
มีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพชุมชน และการจัดบริการสุขภาพในศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบความสามารถของผู้นำ อสม. ระดับอำเภอ กับระดับจังหวัด พบว่า ความสามารถของผู้นำ อสม. ด้านการจัดการสุขภาพชุมชน และทักษะการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานของผู้นำ อสม. ระดับอำเภอ และระดับจังหวัด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เนื่องจากที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขมุ่งเน้นการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาศักยภาพกลุ่มประธานชมรม อสม. ระดับจังหวัดในการขับเคลื่อนงานในพื้นที่


ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายในการกำหนดแนวทางในการพัฒนาความสามารถของผู้นำ อสม. ได้แก่ การพัฒนามาตรฐานสมรรถนะ การจัดทำแผนพัฒนาสมรรถนะผู้นำ อสม. ตั้งแต่ระดับอำเภอ จังหวัด เขต ภาค และแห่งประเทศไทย เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำ อสม. ให้สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพชุมชน และการจัดบริการสุขภาพใน ศสมช. รวมทั้งเป็นการเตรียมความพร้อม อสม.ให้สอดรับนโยบายการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ ส่งผลให้ประชาชนในชุมชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพ ได้รับการดูแล และมีการจัดการสุขภาพทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน ส่งผลให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกกลุ่มวัยอย่างยั่งยืนตามบริบทของชุมชน

Article Details

How to Cite
[1]
ภวังคะรัต ศ., “A Study of the Capability of Village Health Volunteer Leaders in 2019”, ้่j of human, ปี 10, ฉบับที่ 2, น. 1–20, ธ.ค. 2020.
บท
บทความวิชาการและบทความวิจัย

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข (พ.ศ. 2560 - 2579). พิมพ์ครั้งที่ 1 สิงหาคม 2561.
กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (2557) วิวัฒนาการการสาธารณสุขมูลฐาน. กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
กฤษยาภัสสร์ ขาวปทุมทิพย์. (2556). การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขในการส่งเสริมสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต, ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จุฑามาศ ประเสริฐศิลป์. (2549). การศึกษาการปฏิบัติงานตามบทบาท หน้าที่ของ อสม. ในเขต อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์, ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชนัดดา ระดาฤทธิ์. (2549). ศึกษาการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขต่อการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนในชุมชน กรณีศึกษาเฉพาะเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์, ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นาฏยา นุชนารถ, ศิริชัย เพชรรักษ์ และ สุเทพ เชาวลิต (2560). การพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุพรรณบุรี. Journal of MCU Peace Studies Vol.6 No.2 (July-June 2018)
รัตนา เฮงสุวรรณ และคณะ. (2557). ความสามารถในการทำงานและภาวะสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย. พยาบาลสาร ปีที่ 43 ฉบับพิเศษ ธันวาคม 2559.
อัลญาณ์ สมุห์เสนีโต (2557). ได้ศึกษาความต้องการพัฒนาขีดความสามารถในการทำงานของประชากรวัยแรงงาน : ศึกษาเปรียบเทียบเฉพาะข้อมูล ปี พ.ศ. 2542 และ ปี พ.ศ. 2545. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 (2014)
World Health Organization (WHO) and the United Nations Children’s Fund (UNICEF). (2018) Declaration of Astana. (2018)