องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนในวิถีชีวิตใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลต่อวิถีชีวิตของประชาชนทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจทำให้เด็กและเยาวชนมีความเครียด วิตกกังวลและเบื่อหน่าย กังวลด้านการเรียน การสอบและโอกาสในการศึกษาต่อ พื้นที่ในการทำกิจกรรมสร้างสรรค์ลดลง มีปัญหาด้านการเงินของครอบครัวธุรกิจต้องปิดตัว พ่อแม่ถูกเลิกจ้างและเกิดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว จึงจําเป็นจะต้องพึ่งพากลไกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เนื่องจากเป็นหน่วยงานมีความใกล้ชิดกับเด็กและเยาวชนและประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างดี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงต้องแสดงให้เห็นถึงบทบาทแนวทางการคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ตลอดจนต้องมีนโยบายเชิงบวกที่นําไปสู่การปฏิบัติอย่างสร้างสรรค์ เพื่อเด็กและเยาวชนมีพัฒนาการอย่างครอบคลุม เป็นประโยชน์ต่อทั้งเด็กและเยาวชนและชุมชนท้องถิ่นของตนในการป้องกันและการจัดการกับความรุนแรง การแสวงประโยชน์และการกระทำมิชอบต่อเด็กและเยาวชน ซึ่งรวมถึงการแสวงประโยชน์ทางเพศเพื่อการพาณิชย์ การค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเด็กและจารีตประเพณีต่าง ๆ ที่เป็นภัยต่อเด็กเยาวชนและสามารถดำรงค์ชีวิตอยู่ในภาวะความปกติใหม่ได้อย่างเหมาะสม แนวทางในการคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีหลักการเบื้องต้นจากอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งเป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่ได้กำหนดสิทธิพื้นฐานของเด็กไว้ 4 ประการ คือ (1) สิทธิที่จะมีชีวิตอยู่รอด (2) สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา (3) สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครอง (4) สิทธิในการมีส่วนร่วม จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ครั้งนี้ ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องแสดงบทบาทในการสร้างเมืองที่เป็นมิตรกับเด็กและเยาวชนในภาวะความปกติใหม่เพื่อปกป้องคุ้มครองและส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชนในภาวะความปกติใหม่ได้อย่างทันสมัยและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อเด็กและเยาวชน
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสังคมมนุษย์
References
กรุงเทพฯ : กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
กรมกิจการเด็กและเยาวชน. (2558). “บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับกิจกรรมสร้างสรรค์
เด็กและครอบครัว”. กรุงเทพฯ: กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
กรมกิจการเด็กและเยาวชน. (2559)“รายงานผลการศึกษาสถานภาพการสร้างและสนับสนุนกลุ่มเด็ก
และเยาวชนเพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและสังคมของหน่วยงาน”. กรุงเทพฯ : กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. น 6 - 7.
กรมกิจการเด็กและเยาวชน. 2558). “รูปแบบเมืองที่เป็นมิตรต่อเด็กและเยาวชน”. กรงเทพฯ ุ :
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมกิจการเด็กและเยาวชน. 2556).
“รายงานการพัฒนาเด็ก พ.ศ. 2556”. กรุงเทพฯ : กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์ กรมการปกครอง. (2559).“จำนวนประชากรแยกรายอายุทั่วประเทศ”เดือน ธันวาคม พ.ศ.2559 เข้าถึงได้จากwww.stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age _disp.php [10 กันยายน 2563]
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2560)."สรุปข้อมูลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ”. เข้าถึง
ได้จาก http://www.dla.go.th/work/abt/index.jsp 6 [10 กันยายน 2563]
กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา. (2560). “พิมพ์เขียว Thailand 4.0 โมเดล
ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน”. มหาวิทยาลัยพะเยา โกวิทย์ พวงงาม. (2550).
ปรเมธี วิมลศิริ. (2559).“ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีอนาคตประเทศไทยเพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”.
เอกสารประกอบ หลักสูตรวิทยาการประกันภัยระดับสูง (วปส.), รุ่นที่ 6 ปี 2559
ประภาวดี สิงหวิชัย. (2559). “ทิศทางและแนวทางการดําเนินงานของ กระทรวงการพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์”. กรุงเทพฯ : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ยูนิเซฟประเทศไทย. (2559).“การคุ้มครองเด็กคืออะไร” เข้าถึงได้จาก. www.unicef.org /Thailand/tha/ protection.html [20 กันยายน 2563]
ยูนิเซฟประเทศไทย. (2559).“การคุ้มครองเด็กคืออะไร” เข้าถึงได้จาก. www.unicef.org
/Thailand/tha/ protection.html [20 กันยายน 2563]
วิจารณ์ พานิช. (2555).“การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21”. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสยามกัมมาจล
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง, อธิป จิตตฤกษ์ (แปล). (2555). “ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อ
ศตวรรษที่ 21” แปลจาก “21st Century Skills: Rethinking How Students Learn”
กรุงเทพฯ:สํานักพิมพ์ โอเพ่นเวิลด์ส (openworlds).
ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาเพื่อเด็กและผู้มีความต้องการพิเศษ. (2551). “สิทธิเด็กและ
การ วางแผนท้องถิ่นเพื่อเด็กและเยาวชน”. คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สมพงษ์ จิตระดับ และคณะ รายงานการศึกษา การส่งเสริมกระบวนการทางความคิด (Mindset) เด็ก
และเยาวชนสู่ประเทศไทย 4.0 กรุงเทพฯ : กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.