การศึกษารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม).4.0 ภาคเหนือ ปี 2561
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) 4.0 ภาคเหนือ ปี 2561 เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ อสม.4.0 ภาคเหนือ และประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ อสม.4.0 ด้านการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ประสบการณ์ และเกี่ยวข้องกับการพัฒนาพัฒนาสมรรถนะ อสม. จำนวน 15 คน และ ครู ก ประกอบด้วย อสม.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในพื้นที่ 11 จังหวัด ภาคเหนือ จำนวน 55 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบวิเคราะห์สถานการณ์ แบบบันทึก แบบทดสอบความรู้ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ เป็นการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สถิติเปรียบเทียบ T-test และสถิติพรรณนา
ผลการวิจัย รูปแบบการพัฒนาสมารถนะ อสม.4.0 ภาคเหนือ ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์สถานการณ์ สมรรถนะ อสม.4.0 ที่คาดหวัง คือ มีความรู้ ความเข้าใจที่ดีในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สามารถเข้าถึงข้อมูล ตรวจสอบ วิเคราะห์ และเลือกใช้ข้อมูลที่ถูกต้องได้ 2) หลักสูตรฝึกอบรมพัฒนาสมรรถนะ อสม.4.0 ประกอบด้วย เป้าหมายหลักสูตร วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม คุณลักษณะและบทบาทผู้เรียน ขอบเขตเนื้อหา แผนการสอน การประเมินผลทั้งในและหลังนอกห้องเรียน 3) การพัฒนาครู ก อสม. 4.0 4) การนำความรูปไปใช้ 5) การประเมินผลรูปแบบ การประเมินผลการใช้รูปแบบ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีส่วนร่วมในการอบรมดี มีความสำเร็จของชิ้นงาน คะแนนความรู้มีค่าเฉลี่ย 9.2 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.20 ค่า p-value 0.003 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ด้านการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินงาน พบว่า ผู้ที่ผ่านการอบรมพัฒนาสมรรถนะ ครู ก อสม. 4.0 ได้จัดอบรมขยายผลการพัฒนาสมรรถนะ อสม.4.0 ต่อทุกพื้นที่ และมีผลประเมินการนำความรู้จากการอบรมไปใช้คะแนนส่วนใหญ่ทุกด้านทุกข้ออยู่ในระดับสูง
ข้อเสนอแนะ 1) การพัฒนาสมรรถนะ อสม.4.0 ต้องจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียน เช่น สัญญาณอินเตอร์เน็ต ทีมวิทยากรประจำกลุ่มฝึกปฏิบัติ วิทยากรมีความเชี่ยวชาญในการใช้อุปกรณ์มือถือในแต่ละค่ายมือถือ ควรจัดกลุ่มเรียนตามค่ายมือถือของผู้เรียน การวิเคราะห์ศักยภาพอุปกรณ์กับแอพพิเคชั่นที่ฝึกปฏิบัติ 2) การสร้างปัจจัยเอื้อในการขยายผล ของ ครู ก ทั้งเชิงนโยบายและทรัพยากร
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสังคมมนุษย์