การจัดการความรู้วัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านจังหวัดพังงา กรณีศึกษาอำเภอทับปุด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการความรู้วัฒนธรรมอาหารพื้นบ้าน อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา โดยศึกษาเนื้อหา 2 ส่วน ประกอบด้วย 1) การจัดการความรู้วัฒนธรรมอาหารพื้นบ้าน ได้แก่ การสร้างองค์ความรู้ (knowledge creation) การจัดเก็บความรู้ (knowledge storage) การแบ่งปันความรู้ (knowledge sharing) การประยุกต์ใช้ความรู้ (knowledge application) 2) อาหารพื้นบ้าน ได้แก่ อาหารพื้นบ้านยอดนิยม (Popular local food) อาหารพื้นบ้านหายาก (Rare local food) อาหารหวาน (Dessert) ตัวอย่าง คือ บุคคลที่มีความรู้ ความชำนาญด้านการทำอาหารพื้นบ้าน เป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน จำนวน 11 ราย ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงบรรยาย
ผลการศึกษา พบว่า บุคคลภูมิปัญญาที่ให้ข้อมูล จำนวน 11 คน เก็บรวบรวมข้อมูลการจัดการความรู้อาหารพื้นบ้าน 26 สูตร จำแนกเป็น อาหารยอดนิยม 13 สูตร อาหารหายาก 5 สูตร และขนมพื้นบ้าน 8 สูตร กระบวนการจัดการความรู้อาหารพื้นบ้าน 4 ขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้ (1) การสร้างองค์ความรู้ของบุคคลภูมิปัญญาใช้วิธีการสร้างองค์ความรู้จากการดู จดจำ และฝึกปฏิบัติ ร้อยละ 100 (2) การจัดเก็บความรู้ของบุคคลภูมิปัญญาบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ร้อยละ 18.18 และไม่บันทึกไว้ แต่อาศัยความจำ ความชำนาญ ร้อยละ 81.82 (3) การแบ่งปันความรู้ ถ่ายทอดความรู้ให้กับลูกหลานและเครือญาติ ต้องการถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้สนใจทุกคนร้อยละ 100 วิธีการถ่ายทอดความรู้ให้ผู้สนใจมาดูวิธีการทำและฝึกปฏิบัติ ร้อยละ 100 (4) การประยุกต์ใช้ความรู้ นำความรู้ไปประกอบอาชีพ ร้อยละ 100 ปรับเปลี่ยนรสชาติให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ร้อยละ 45.45
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสังคมมนุษย์
References
ชลลดา ทวีคูณ และจิราณีย์ พันมูล. (2558). การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในมิติอาหารเพื่อสุขภาพ : กรณีศึกษาชุมชนไทยทรงดำ ตำบลหูช้าง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลสุวรรณภูมิ. พระนครศรีอยุธยา. (1)-(2)
ฉวีวรรณ สุวรรณาภา อรอนงค์ วูวงศ์ และเสริมศิลป์ สุภเมธีสกุล. (2560). อาหารพื้นบ้าน : กระบวนการ จัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และจริยธรรมทางสังคมในชุมชนภาคเหนือ. มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่.
ฐาปนี เลขาพันธ์ และจุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์ . (2558). การจัดการความรู้ด้านสมุนไพร กรณีศึกษา กลุ่ม สมุนไพรบ้านดงบัง ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารบรรณศาสตร์ มศว. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2558. 12-25.
อภิชาติ ใจอารีย์. (2557). รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการแปรรูปหน่อไม้ของชุมชน บ้านพุเตย จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารการเมืองการปกครอง ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 มีนาคม - สิงหาคม 2557
เอกชัย พุมดวง.2558. กลยุทธ์การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของ ชุมชนตำบลโคกโคเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. การประชุมทางวิชาการของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 53 สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน วันที่ 3-6 กุมภาพันธ์ 2558.
Pentland, B.T. (1995). Information systems and organizational learning: The social epistemology of organizational knowledge systems. Accounting, Management and Information Technologies 5 (1): 1-21.