พุทธ : ไสย ไอ้ไข่วัดเจดีย์กับกระบวนการกลายเป็นสินค้า

Main Article Content

บุญยิ่ง ประทุม

บทคัดย่อ

บทความวิชาการเรื่อง พุทธ : ไสย ไอ้ไข่วัดเจดีย์กับกระบวนการกลายเป็นสินค้า ซึ่งได้นำเสนอเกี่ยวกับการเข้ามาของความเชื่อเรื่องผี ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาพุทธ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช บริบทเชิงพื้นที่ เรื่องเล่า ตำนานของไอ้ไข่วัดเจดีย์ กระบวนการกลายเป็นสมัยใหม่และการกลายเป็นสินค้าท่ามกลางกระแสของสังคมยุคปัจจุบันที่เน้นความเป็นวัตถุนิยม บริโภคนิยม ซึ่งไอ้ไข่วัดเจดีย์มีเรื่องเล่าประวัติที่มีความเชื่อมโยงกับความเชื่อดั้งเดิมของคนไทย คือความเชื่อเกี่ยวกับการนับถือผี พิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์ผนวกรวมกับหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา นำมาวิเคราะห์กับทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ ด้านประวัติศาสตร์ ศาสนา ความเป็นสมัยใหม่และกระบวนการกลายเป็นสินค้า เพื่อให้เห็นถึงปรากฎการณ์ทางสังคมที่เกี่ยวกับกระบวนการ ที่มา การสร้างสัญลักษณ์ พิธีกรรม ความเชื่อและการจัดการความศรัทธาบนฐานของวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับไอ้ไข่วัดเจดีย์ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อ พิธีกรรม การบนบานสานกล่าว การสร้างวัตถุมงคล การแก้บน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ พื้นที่ทางจิตวิญญาณและนำไปสู่กระบวนการกลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรม

Article Details

How to Cite
[1]
ประทุม บ., “พุทธ : ไสย ไอ้ไข่วัดเจดีย์กับกระบวนการกลายเป็นสินค้า”, ้่j of human, ปี 9, ฉบับที่ 2, น. 1–18, ธ.ค. 2019.
บท
บทความวิชาการและบทความวิจัย

References

ภาษาไทย
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2557). ความเป็นสมัยใหม่กับแนวคิดชุมชน. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสำนักพิมพ์
สร้างสรรค์ จำกัด.
ชัยวัฒน์ ศรีแก้ว .(2560). ภูมิถิ่นแผ่นดินนคร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ประยูรการพิมพ์.
ธวัลรัตน์ พรหมวิเศษ.(2562). ตำนาน "ไอ้ไข่วัดเจดีย์" กับกระบวนการทำให้ศักดิ์สิทธิ์. วารสารรูสมิแล.ปีที่
40 ฉบับที่ 1 (มกราคม - เมษายน) 2562.
ธีระพงษ์ มีไธสง .(2560). ผีกับพุทธ การผสมผสานทางความเชื่อ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อินทนิล.
ปฐม หงส์สุวรรณ .(2556).นานมาแล้ว มีเรื่องเล่า นิทาน ตำนาน ชีวิต. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปัญญา เลิศไกร.(2562). การจัดการนวัตกรรมการพัฒนาองค์กร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ มหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช, 8 (6).
พรศักดิ์ พรหมแก้ว.(2544). ความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับการนับถือผีของชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธใน
ภาคใต้. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ.
พัชรินทร์ สิรสุนทร .(2562). นวัตกรรมทางสังคมและการเรียนรู้ ของแรงงานข้ามชาติมอญในประเทศไทย.
พิษณุโลก : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พระธรรมปิฎก และคณะ.(2552).วิถีชุมชน : หนังสือ สุ จิ ปุ ลิ 5. กรุงเทพมหานคร: สันติศิริการพิมพ์.
ลัญจกร นิลกาญจน์ .(2561). วัฒนธรรมความเชื่อกับการจัดการศรัทธาของชุมชน. วารสารนาคบุตรปริทัศน์
ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2561.
ศศลักษณ์ ทองขาว.(2561). ความเชื่อทางจิตวิญญาณทวดที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร:
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.
ศรีศักร วัลลิโภดม .(2560).พุทธศาสนากับความเชื่อในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ มูลนิธิเล็ก-
ประไพ วิริยะพันธุ์ุ.
ศิราพร ณ ถลาง. (2558). เรื่องเล่าพื้นบ้านไทย ในโลกที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร: หจก. ภาพพิมพ์.
สุกัญญา สุจฉายา.(2556). ทุนวัฒนธรรมกับวัตถุมงคลในปัจจุบัน. วารสารอักษรศาสตร์ ปีที่ 42 ฉบับที่ 2
(2013): กรกฎาคม - ธันวาคม 2556.
อานันท์ กาญจนพันธ์. (2555). เจ้าที่ผีปู่ย่า พลวัติของความรู้ชาวบ้าน อำนาจและตัวตนของคนท้องถิ่น. ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เอกจิตรา คำมีศรีสุข. (2551). ความสัมพันธ์ของทุนวัฒนธรรมกับทุนนิยม:กรณีศึกษาการประกวดนางสาวไทย
พ.ศ. 2477 - 2549. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะ
เศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาษาอังกฤษ
Lefebvre, Henri. (1990). The Production of Space. Malden, Massachusetts: Blackwell Publishers (Translated by Donald Nicholson-Smith).
เอกสารอิเล็กทรอนิกส์
ประวัติวัดเจดีย์ ไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์ .(2562). สืบค้น 26 พฤศจิกายน 2562 จาก https://www.aikai- dekwatjadee.com/ProfileLJ2.aspx.
ไทยรัฐออนไลน์ .(2562).“ไอ้ไข่วัดเจดีย์” แผลงฤทธิ์ทำผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านถูกหวย 12 ล้าน. สืบค้น 26
พฤศจิกายน 2562 จาก https://www.thairath.co.th/news/local/south/1705865

ไทยรัฐออนไลน์ .(2562). เปิดตัว ป้าจิ้ว เพื่อนซี้ "ไอ้ไข่ วัดเจดีย์" เล่าปาฏิหาริย์ "กุมารเทพ". สืบค้น 26
พฤศจิกายน 2562 จาก https://www.thairath.co.th/news/society/1571026