ภาษาสื่ออารมณ์ในวรรณกรรมของประชาคม ลุนาชัย

Main Article Content

ปาริชาต เซียะคง

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษากลศิลป์การสร้างภาษาสื่ออารมณ์ในวรรณกรรมของประชาคม ลุนาชัย โดยเลือกอารมณ์เศร้าซึ่งเป็นอารมณ์หลักที่ผู้ประพันธ์นำเสนอ เพื่อชี้ให้เห็นว่าอารมณ์ในวรรณกรรมของประชาคม ลุนาชัย มีลักษณะเด่นด้วยการสื่อผ่านภาษาอย่างมีวรรณศิลป์  ผลการศึกษาพบว่า ประชาคม ลุนาชัย ได้นำเสนออารมณ์ความรู้สึกของตัวละครผ่านกลศิลป์ทางภาษา ได้แก่ กลศิลป์ด้านการสรรคำและความ และกลศิลป์ด้านการใช้ภาพพจน์ กลศิลป์ทางภาษาดังกล่าวได้กลายเป็นกระบวนการจินตภาพแสดงอารมณ์ภายในของมนุษย์ซึ่งให้คำตอบว่า อารมณ์เศร้าอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์คือจิตวิญญาณของมนุษย์ที่ถูกทำลาย

Article Details

How to Cite
[1]
เซียะคง ป., “ภาษาสื่ออารมณ์ในวรรณกรรมของประชาคม ลุนาชัย”, ้่j of human, ปี 9, ฉบับที่ 2, น. 19–35, ธ.ค. 2019.
บท
บทความวิชาการและบทความวิจัย

References

บุญเหลือ เทพยสุวรรณ, หม่อมหลวง. (2543). วิเคราะห์รสวรรณคดีไทย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ศยาม.
ประชาคม ลุนาชัย. (2542). นาฏกรรมแห่งชีวิต (พิมพ์ครั้งแรก). กรุงเทพฯ: สหการคนวรรณกรรม.
________. (2548). ลูกแก้วสำรอง (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มติชน.
________. (2550). เขียนฝันด้วยชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มติชน.
________. (2552). คนข้ามฝัน (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: มติชน.
________. (2553). กลางทะเลลึก (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: เอโนเวล.
________. (2553). คนเล็กหัวใจมหึมา...มหาสมุทร (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เพื่อนดี.
ภาคย์ จินตนมัย. (2543, 23-29 กรกฎาคม). ชาวกรุง 2000.
สกุล บุณยทัต. (2540,สิงหาคม). วรรณวิจารณ์ กรุงเทพธุรกิจ จุดประกายวรรณกรรม. 10(3232), 6.
สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา. (2549). เจิมจันทน์กังสดาล : ภาษาวรรณศิลป์ในวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อังคาร กัลยาณพงศ์. (2529). รวมบทกวีนิพนธ์ของ อังคาร กัลยาณพงศ์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : รุ่งแสงการพิมพ์.
อิราวดี ไตลังคะ. (2543). ศาสตร์และศิลป์แห่งการเล่าเรื่อง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.