การเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • เตชิต แปลกสงวนศรี Doctor of Philosophy in Resources Management and Development Maejo University
  • อนุวัฒน์ จรัสรัตนไพบูลย์ Doctor of Philosophy in Resources Management and Development Maejo University
  • กอบลาภ อารีศรีสม Doctor of Philosophy in Resources Management and Development Maejo University
  • ภาวินี อารีศรีสม Doctor of Philosophy in Resources Management and Development Maejo University

คำสำคัญ:

ศักยภาพการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวโดยชุมชน, การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนในจังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในจังหวัดเชียงใหม่ และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน จังหวัดเชียงใหม่ วิธีดำเนินการวิจัยใช้แบบผสมผสาน ในการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 360 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และจัดสนทนากลุ่มในกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยว จำนวน 40 คน เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบบันทึกการสนทนากลุ่มวิเคราะห์ผลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

           ผลการวิจัยพบว่า

           1) เชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีความโดดเด่นด้านวัฒนธรรมและธรรมชาติ จุดเด่นของศักยภาพ
การท่องเที่ยวโดยชุมชนในเชียงใหม่แบ่งเป็น 5 ด้านหลัก ได้แก่ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ การสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการสร้างเครือข่ายชุมชนท่องเที่ยว

           2) ศักยภาพด้านการบริหารจัดการ มีอิทธิพลโดยรวมต่อการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน มากที่สุด รองลงมาคือ ศักยภาพในการตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว และศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว
ตามลำดับ

           3) รูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่อย่างยั่งยืนต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ ซึ่งจะช่วยสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์ทรัพยากร การสร้างรายได้ให้ชุมชน และการสร้างประสบการณ์ที่มีคุณค่าให้นักท่องเที่ยว เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืนในระยะยาว

         

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-09

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)