ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ

ผู้แต่ง

  • มุกลัดดา อัมไพ Master of Educational Administration and Development, Graduate School, Sakon Nakhon Rajabhat University
  • วาโร เพ็งสวัสดิ์ Lecturer of Sakon Nakhon Rajabhat University
  • วัลนิกา ฉลากบาง Lecturer of Sakon Nakhon Rajabhat University

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, ภาวะผู้นำการเรียนรู้, องค์การแห่งการเรียนรู้

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำการเรียนรู้ 2. เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเรียนรู้ 3. เพื่อศึกษาระดับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ 4. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเรียนรู้ 5. เพื่อศึกษาอำนาจพยากรณ์ของภาวะผู้นำการเรียนรู้ และ 6. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ เป็นรูปแบบงานวิจัยที่ผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 278 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. แบบสอบถามยืนยันองค์ประกอบ 2. แบบสอบถามเพื่อการวิจัย 3.แบบสอบถามแนวทางพัฒนา การเก็บรวบรวมข้อมูล แบ่งออกเป็น 3 ระยะ 1.ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำการเรียนรู้ 2. ศึกษาภาวะผู้นำการเรียนรู้ และ 3. ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

           ผลการวิจัยพบว่า

  1. ภาวะผู้นำการเรียนรู้มี ได้แก่ การเรียนรู้เป็นทีม การบูรณาการ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการปฏิบัติงาน และความคิดสร้างสรรค์
  2. ภาวะผู้นำการเรียนรู้ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก
  3. การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก
  4. ภาวะผู้นำการเรียนรู้กับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง
  5. ภาวะผู้นำการเรียนรู้ มีอำนาจพนากรณ์การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ จำนวน 3 ตัวแปร ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการปฏิบัติงาน และ การบูรณาการ
  6. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ มี 3 ด้าน คือ การบูรณาการ ความคิดสร้างสรรค์ และการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการปฏิบัติงาน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)