ภาวะผู้นำของผู้บริหารและปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงาน ของโรงเรียนในฝัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดสระแก้ว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารและผลการดำเนินงานของโรงเรียนในฝัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดสระแก้ว ศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารกับผลการดำเนินงานของโรงเรียนในฝัน และศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารและปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่ส่งผลและสามารถพยากรณ์ผลการดำเนินงานของโรงเรียนในฝัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดสระแก้ว กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียนในฝัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดสระแก้ว จำนวน 250 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า โดยมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .24-.80 และ .38-.85 และค่าความเชื่อมั่น .97 และ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
- 1. ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนในฝัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดสระแก้ว มีภาวะผู้นำแบบการเปลี่ยนแปลง และภาวะผู้นำการแลกเปลี่ยนโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
- 2. ผลการดำเนินงานของโรงเรียนในฝัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดสระแก้ว โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
- 3. ภาวะผู้นำของผู้บริหาร และปัจจัยสังกัดของโรงเรียน ปัจจัยประเภทของโรงเรียน ปัจจัยขนาดของโรงเรียน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการดำเนินงานของโรงเรียนในฝัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดสระแก้ว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
- 4. ภาวะผู้นำของผู้บริหาร และปัจจัยสังกัดของโรงเรียน ปัจจัยประเภทของโรงเรียน ปัจจัยขนาดของโรงเรียน ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของโรงเรียนในฝัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- 5. ปัจจัยที่ขนาดโรงเรียน (X3) ภาวะผู้นำของผู้บริหารด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา (X43) ด้านการบริหารแบบวางเฉยเชิงรับ (X53) และด้านการใช้อิทธิพลด้านอุดมการณ์ (X41) สามารถพยากรณ์ผลการดำเนินงานของโรงเรียนในฝัน ( ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดสระแก้ว คิดเป็นร้อยละ 60.20 โดยเขียนเป็นสมการในรูปคะแนนดิบ ดังนี้
= 1.503+.118(X43) +.055(X53) +.108(X3) +.217(X41) และสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้
= .146(Z43) + 0.71(Z 53) +.134(Z 3) +.276(Z 41)
Article Details
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะใด ๆ ที่นำเสนอในบทความเป็นของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียวโดยบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการวารสารราชธานีนวัตกรรมทางสังคมศาสตร์ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด มหาวิทยาลัย บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดหรือผลที่เกิด จากการใช้ข้อมูลที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้
References
จริยาภรณ์ พรหมมิ. (2559). ปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะศึกษาศาสตร์, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.
ดารณี คงกระพันธ์. (2557). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและบรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อ ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะศึกษาศาสตร์,สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.
ถวิล มาตรเลี่ยม. (2544). การปฏิรูปการศึกษาโรงเรียนเป็นฐานการบริหารจัดการ School Based Management: SBM. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.
นิศานาถ นนท์จุมจัง. (2552). การศึกษาภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพของผู้บริหารโรงเรียนและ ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะศึกษาศาสตร์, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.
ปิยะพร แถวไธสง. (2557). ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยนของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอสอยดาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ภารดี อนันต์นาวี. (2545). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ฤทัยรัตน์ บุญอินทร์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.
รสสุคนธ์ ถิ่นทวี. (2555). ประสิทธิผลโรงเรียนในฝัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2551). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership) ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง. เข้าถึงได้จาก
http://www.siamhrm.com/report/management
วันเพ็ญ หนองตะไกร. (2548). ผลการดำเนินงานและแนวทางเสริมสร้างการดำเนินงานของโรงเรียนในโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว.งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาบูรพา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. (2556). ข้อมูลพื้นฐานและการบริหารและการจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1.สระแก้ว: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้วเขต 1.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). เอกสารประกอบการพัฒนาหลักสูตรผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
Bass, B. M.& Avolio (1991). Transformational leadership: Industrial, military and education impact. New York: Free Press.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.