การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ชีวิตพืช โดยใช้กระบวนการสอนแบบซิปปาโมเดล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

นงค์ลักษณ์ ค้อนกระโทก
นพเรศวร์ ธรรมศรัณยกุล
อรธิดา ประสาร
ประกาศิต อนุภาพแสนยากร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ชีวิตพืช โดยใช้กระบวนการสอนแบบซิปปาโมเดล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 85/85 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ชีวิตพืช โดยใช้กระบวนการสอนแบบซิปปาโมเดล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ชีวิตพืช โดยใช้กระบวนการสอนแบบซิปปาโมเดล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงทดลองที่มีกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องชีวิตพืช โดยใช้กระบวนการสอนแบบซิปปาโมเดล แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนและแบบวัดความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ชีวิตพืช โดยใช้กระบวนการสอนแบบซิปปาโมเดล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์หาข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การคำนวณหาประสิทธิภาพ ( / ) และการทดสอบค่าที (t – test)


             ผลการวิจัยพบว่า  1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ชีวิตพืช โดยใช้กระบวนการสอนแบบซิปปาโมเดล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่สร้างขึ้นทั้ง 9 กิจกรรมการเรียนรู้ โดยรวมมีประสิทธิภาพระหว่างเรียนและหลังเรียน เท่ากับ 87.28/86.98 มีประสิทธิภาพ เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 85/85 ทุกชุด 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ชีวิตพืช โดยใช้กระบวนการสอนแบบซิปปาโมเดล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และ 3) ความพึงพอใจต่อการเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ชีวิตพืช โดยใช้กระบวนการสอนแบบซิปปาโมเดล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานจากกิจกรรมที่หลากหลาย มีความพึงพอใจมากที่สุด รองลงมาคือ เนื้อหาในกิจกรรมการเรียนรู้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้ ทันสมัย รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทำให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงตามจุดประสงค์ของหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทำให้นักเรียนเข้าใจเรื่องที่อ่านได้ง่ายขึ้น ตามลำดับ 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ ภูศรีฐาน. (2554). การเปรียบเทียบการอ่านจับใจความการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปากับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กาญจนา กาฬภักดี. (2550). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและค่านิยมทางวิทยาศาสตร์ด้านการมีเหตุผลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามัธยมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จันที สิทธิศาสตร์. (2549). การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ซิปปา เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธนพงศธร ดวงพระเกษ. (2550). การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา เรื่อง เพศศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตแรละการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปอเรียม แสงชาลี. (2549). ผลของการเรียน เรื่อง เส้นขนาน โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA MODEL) และกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบของ สสวท. ที่มีผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พิไลวรรณ สถิต. (2550). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิตชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบซิปปาและรูปแบบการสอนของสสวท. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ไพฑูรย์ ชาวโพธิ์. (2549). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ช่วงชั้นที่ 3 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบซิปปา. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ยุพา ผึ้งฉิมพลี. (2550). การลำเลียงสารในร่างกายของสิ่งมีชีวิต โดยใช้รูปแบบการสอนแบบซิปปา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนครขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รชาดา บัวไพร. (2552). การศึกษาการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบซิปปาโมเดลที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศศิมา ทับทิม. (2552). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ระบบร่างกายมนุษย์ด้วยรูปแบบซิปปา. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษามัธยมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักการศึกษาเทศบาลเมืองศรีสะเกษ. (2560). สถิตินักเรียนปีการศึกษา 2560. สำนักการศึกษา : สำนักงานเทศบาลเมืองศรีสะเกษ.

สุรีภรณ์ บุญแท้. (2550). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำและอากาศ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนแบบซิปปากับการสอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อรพรรณ ไชยสิงห์. (2547). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง โดยใช้รูปแบบซิปปา (CIPPA MODEL). วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อัญชนา สายสร้อย. (2550). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เงิน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบซิปปา. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Dwyer. (1990). The Characteristic of Successful School Bussiness Manager. New York : McGraw – Hill.