การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้หน่วย การสร้างเว็บเพจด้วยภาษา HTML ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนโดยวิธีใช้ชุดการสอน และการสอนโดยวิธีสอนปกติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการเรียนรู้หน่วย การสร้างเว็บเพจด้วยภาษา HTML ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนโดยวิธีใช้ชุดการสอนและการสอนโดยวิธีสอนปกติ ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการกลุ่ม ทักษะการทำเว็บเพจ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนโดยวิธีใช้ชุดการสอนและการสอนโดยวิธีสอนปกติ ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการกลุ่ม ทักษะการทำเว็บเพจและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ระหว่างนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยวิธีใช้ชุดการสอนและนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยวิธีสอนปกติ
การดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนนาทมวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 50 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 25 คน รวม 50 คน เครื่องมือวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนที่ใช้ชุดการสอนและวิธีสอนปกติ ประเภทละ 6 แผน ซึ่งแผนการสอนทั้งสองประเภท มีคุณภาพด้านความเหมาะสม ความสอดคล้อง ความถูกต้อง และความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด และมีค่าเฉลี่ย 5.00 ทุกด้าน ชุดการสอนจำนวน 6 ชุด มีคุณภาพด้านความเหมาะสม ความสอดคล้อง ความถูกต้อง และความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด และมีค่าเฉลี่ย 5.00 ทุกด้าน เครื่องมือวัดผลประกอบด้วย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67-1.00 ดัชนีความไวของข้อสอบตัวถูก มีค่าระหว่าง 0.20-0.50 และดัชนีความไวของข้อสอบตัวลวง มีค่าระหว่าง 0.06-0.22 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.80 แบบประเมินทักษะกระบวนการกลุ่ม มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ทุกรายการ ค่าอำนาจจำแนกรายข้อมีค่าระหว่าง 0.56-0.80 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 แบบประเมินทักษะการทำเว็บเพจ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ทุกรายการ ค่าอำนาจจำแนกรายข้อมีค่าระหว่าง 0.57-0.80 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 และแบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ทุกรายการ ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ มีค่าระหว่าง 0.51-0.75 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.86 งานวิจัยนี้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ดังนี้ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ใช้สถิติที (t-test) กรณีกลุ่มตัวอย่างเดียว สถิติที (t-test) กรณีกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกันและสถิติที (t-test) กรณีกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
- 1. ผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยวิธีใช้ชุดการสอนและวิธีสอนปกติในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการกลุ่ม ทักษะการทำเว็บเพจ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในกรณีก่อนเรียน อยู่ในระดับต่ำและต่ำกว่าเกณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และกรณีหลังเรียนจะอยู่ในระดับปานกลางถึงสูง เมื่อทดสอบแล้วสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
- 2. ผลการเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนสอนและหลังสอนโดยวิธีใช้ชุดการสอนและการสอนโดยวิธีสอนปกติ พบว่าการสอนทั้งสองวิธี นักเรียนมีผลการเรียนรู้ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
- 3. ผลการเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ระหว่างนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยวิธีใช้ชุดการสอนและนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยวิธีสอนปกติ พบว่า นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยวิธีใช้ชุดการสอน มีผลการเรียนรู้ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการกลุ่ม ทักษะการทำเว็บเพจและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนโดยวิธีสอนปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะใด ๆ ที่นำเสนอในบทความเป็นของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียวโดยบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการวารสารราชธานีนวัตกรรมทางสังคมศาสตร์ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด มหาวิทยาลัย บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดหรือผลที่เกิด จากการใช้ข้อมูลที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้
References
จารุวัส หนูทอง. (2555). การพัฒนาสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์การสอนบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตวิชาการผลิตงานภาพยนตร์และสื่อดิจิตัล1. มหาวิทยาลัยศรีนครรินทรวิโรฒ.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2521). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษากับการสอน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2545). การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์และบทเรียนเครือข่าย. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นาทมวิทยา. (2559). รายงานคุณภาพผู้เรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. นครพนม: โรงเรียนนาทมวิทยา
บรรณรักษ์ แพงถิ่น. (2542). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เจตคติและความคงทนในการเรียนรู้กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตเรื่อง พืชและสัตว์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที 6 ที่ได้รับการสอนโดยวิธีใช้ชุดการสอนกับการสอนปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาการประถมศึกษา.
ปัญญา สังข์ภิรมย์ , และสุคนธ์ สินธพานนท์. (2550). สุดยอดวิธีสอนการงานอาชีพและเทคโนโลยีนำไปสู่การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
พิชญานีน ลายเจียรและคณะ. (บทคัดย่อ). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ระหว่างการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์กับวิธีสอนแบบปกติ. ปริญญานิพนธ์, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, คณะศึกษาศาสตร์, สาขาหลักสูตรและการสอน.
ภาคภูมิ สิทธิผล. (2556). การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน วิชาคอมพิวเตอร์ โปรแกรม PhotoScape สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านโพนเมืองมะทัน อำเภอม่วงสามสิบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. สืบค้นจาก www.pmt.ac.th
สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2545). การนิเทศภายในโรงเรียน.วารสารวิชาการ, 5(8), 25-28.
สุดถนอม ธีระคุณ. (2555). การพัฒนาชุดการสอน ด้วยเทคนิคการจัดการความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ พลังงานไฟฟ้า สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสายปัญญารังสิต. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, สำนักบัณฑิตศึกษา, สาขาวิชาเทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (มปป.) แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ 2560 -2574. สืบค้นจาก www.onec.go.th.