ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของครูต่อการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 จำแนกตามสถานภาพของครู ประกอบด้วยเพศและประสบการณ์ 3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 ตามความคิดเห็นของครู การวิจัยในครั้งนี้มีวิธีดำเนินการ 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรกเป็นการศึกษาความคิดเห็นของครูที่มีต่อการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นครู 302 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1 ทุกข้อ ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.06 ถึง 0.66 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 การวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นตอนนี้ใช้ การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพของครูประกอบด้วย เพศ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลการทดสอบค่าที (t-test Independent) และประสบการณ์ในการสอน ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test : One Way ANOVA ) ขั้นตอนที่ 2 เป็นการศึกษาแนวทางการพัฒนาการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 โดยการสัมภาษณ์ ใช้กลุ่มตัวอย่าง 20 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ มีดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1 ทุกข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดย วิเคราะห์เนื้อหา และสรุปในเชิงบรรยาย ผลการวิจัย พบว่า
- 1. ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน คือ 1) ด้านอำนาจความเชี่ยวชาญ 2) ด้านอำนาจตามตำแหน่ง 3) ด้านอำนาจการบังคับ 4) ด้านอำนาจการอ้างอิง 5) ด้านอำนาจข่าวสาร
- 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 จำแนกตามเพศพบว่า โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และรายด้าน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านอำนาจความเชี่ยวชาญ ด้านอำนาจตามตำแหน่ง ด้านอำนาจการบังคับ ด้านอำนาจการอ้างอิง และด้านอำนาจข่าวสาร และจำแนกตามประสบการณ์ในการสอน พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
- 3. ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 สรุปได้ ดังนี้ 1) ด้านอำนาจความเชี่ยวชาญ ผู้บริหารควรพัฒนาเรื่องการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาการจัดสรรอัตรากำลัง การให้ความรู้และแนวทางเกี่ยวกับการควบคุมภายในหน่วยงาน การจัดทำและเสนอของบประมาณ การจัดสรรงบประมาณ การบริหารการเงิน การบริหารบัญชี การบริหารพัสดุและสินทรัพย์ 2) ด้านอำนาจตามตำแหน่ง ผู้บริหารควรพัฒนาเรื่องการใช้กฎระเบียบในการนิเทศการศึกษา การควบคุมให้ครูทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัด การรักษาวินัยและความประพฤติ การใช้กฎระเบียบในการเลื่อนขั้นเงินเดือน 3) ด้านอำนาจการบังคับ ผู้บริหารควรพัฒนาเรื่องการใช้อำนาจการบังคับ ในการชี้ให้ครูที่ขาดการเชื่อฟัง ไม่ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายเห็นบทลงโทษตามกฎระเบียบข้อบังคับ ทั้งในการจัดการเรียนการสอน การมาปฏิบัติราชการ และการประพฤติปฏิบัติตน 4) ด้านอำนาจการอ้างอิง ผู้บริหารควรพัฒนาเรื่องการประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาอื่น การส่งเสริมประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ 5) ด้านอำนาจข่าวสาร ผู้บริหารควรพัฒนาเรื่องสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา การนิเทศการศึกษา การแนะแนวการศึกษา การส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชน งานพัฒนาระบบและเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ การประสานและพัฒนาเครือข่ายการศึกษา งานเทคโนโลยีสารสนเทศ และการประชาสัมพันธ์งานการศึกษา
Article Details
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะใด ๆ ที่นำเสนอในบทความเป็นของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียวโดยบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการวารสารราชธานีนวัตกรรมทางสังคมศาสตร์ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด มหาวิทยาลัย บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดหรือผลที่เกิด จากการใช้ข้อมูลที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้
References
ขวัญใจ ประภาสัย. (2557). พฤติกรรมการใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของครู อำเภอเขาฉกรรจ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1.
วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ญาณวีร์ ค้าแผลง. (2555). การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตเมืองชลบุรี 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1.วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ดัชนี คงทันดี. (2558). การใช้อำนาจของผู้บริหารในทัศนะของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธีระ รุญเจริญ. (2546). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.
พิกุล ดีพิจารณ์ (2548). การใช้อำนาจของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียน เอกชน ในเขตภาคตะวันออก.วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยบูรพา.
วราภรณ์ พรหมรัตน. (2554). การใช้อำนาจของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิไล ล่าสิงห์. (2550). การใช้อำนาจของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูปฏิบัติการสอน โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด.วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ไวภพ สุขกระโทก. (2556). ). การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สายัณร์ รอดจันทึก. (2556). การใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. (2559). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. อุบลราชธานี : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29.
สุรีวัลย์ ดาราพงษ์. (2557). การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัย บูรพา.
อมรารัตน์ กิจธิคุณ (2555). การใช้พลังอำนาจของผู้บริหารที่สัมพันธ์กับแรงจูงใจของครูโรงเรียนโสตศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
อาคม วัดไธสง. (2547). หน้าที่ผู้นำในการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2 สงขลา: ภารกิจเอกสารและตำรามหาวิทยาลัยทักษิณ
อัสมาดี เจะอาแซ ดิลก. (2558). การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา ศูนย์เครือข่ายยะรัง อำเภอยะรัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.