สภาพ ปัญหา และแนวทางในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1.

Main Article Content

อัญทลียา ยอดมั่น
อานันต์ ทาปทา
ชวนคิด มะเสนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสภาพปัญหา และแนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1


กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 132 คน และครู จำนวน 331 คน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t


ผลการวิจัยพบว่า


  1. 1. สภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 รวมทุกด้าน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก และปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับน้อย

  2. 2. การเปรียบเทียบสภาพและปัญหาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 จำแนกตาม เพศ ตำแหน่ง และประสบการณ์ทำงาน พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน

  3. 3. แนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 ใน 5 ด้าน พบว่า ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล โรงเรียนควรจัดทำข้อมูลนักเรียนตามสดมภ์ข้อมูลของโรงเรียนเป็นรายบุคคล เป็นรายชั้นเรียน โดยครูประจำชั้นเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ ด้านการคัดกรองนักเรียน โรงเรียนควรดำเนินการวิเคราะห์เพื่อคัดกรองนักเรียนตามแบบฟอร์มบันทึกมาตรฐานของ สพฐ. ตามเกณฑ์การคัดกรอง ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน โรงเรียนควรดำเนินการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนทุกๆ ด้าน ส่งเสริมและพัฒนาด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยเน้นให้ชุมชนมีส่วนร่วม ด้านการป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไข โรงเรียนควรใช้ระบบของกิจกรรมลูกเสือเข้ามาช่วยในการเรียนการสอนทักษะชีวิต ให้คำปรึกษานักเรียนที่มีปัญหาและแก้ไขนักเรียนที่ทำผิดและกลุ่มเสี่ยงด้านทางเพศและยาเสพติด ด้านการส่งต่อนักเรียน โรงเรียนควรดำเนินการส่งต่อนักเรียนเมื่อจบการศึกษาระดับชั้นสูงสุด โดยจัดให้นักเรียนได้รับการแนะแนวจากโรงเรียนใกล้เคียง เพื่อให้นักเรียนได้เรียนต่อระดับชั้นมัธยมศึกษา 100% ทุกๆ ปี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เขตพื้นที่การศึกษา ยโสธร, สำนักงาน. (2558). แนวการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. ยโสธร: พิมพ์ดีการพิมพ์.

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,สำนักงาน. (2547). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (รสพ).

จามจุรี จำเมือง. (2558). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : ไฮเอ็ดพับลิชชิ่ง.

นฤมล มะลิวัลย์. (2552). สภาพการบริหารงานตามมาตรฐานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 13 จังหวัดตรัง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลา.

ปิยะนุช นารอง. (2550). การศึกษาปัญหาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์อำนวนการเครือข่ายภูพานทอง สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถม
ศึกษา สกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ประนอม แก้วสวัสดิ. (2556). สภาพและปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

วาสนา บุญทอง. (2552). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนในเขตคุณภาพนาดี 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี.