การทำงานเป็นทีมของบุคลากรโรงเรียนน้ำขุ่นวิทยา อำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทำงานเป็นทีม และข้อเสนอแนะในการทำงานเป็นทีมของบุคลากรโรงเรียนน้ำขุ่นวิทยา อำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี เป็นการศึกษาจากประชากรของโรงเรียนทั้งหมด ประกอบด้วยผู้บริหาร ครู และเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนงานด้านต่างๆ ปีการศึกษา 2559 จำนวนทั้งหมด 58 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 60 ข้อ มีความเชื่อมั่น 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่าการทำงานเป็นทีมของบุคลากรโรงเรียนน้ำขุ่นวิทยา อำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี ทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านภาวะผู้นำร่วม และที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความชัดเจนของวัตถุประสงค์ สำหรับข้อเสนอแนะในการทำงานเป็นทีมที่สำคัญคือ ทีมควรมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ควรเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วม ควรสร้างความเข้าใจในงานที่ทำ และควรหาแนวทางในการดำเนินงานที่หลากหลาย เป็นต้น
Article Details
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะใด ๆ ที่นำเสนอในบทความเป็นของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียวโดยบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการวารสารราชธานีนวัตกรรมทางสังคมศาสตร์ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด มหาวิทยาลัย บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดหรือผลที่เกิด จากการใช้ข้อมูลที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้
References
ชญาพิมพ์ อุสาโห. (2558). เอกสารประกอบการเรียนวิชาการวิจัยทางการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และคณะ. (2546). การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ทจำกัด.
เตือนใจ โพธิ์ทอง. (2551). การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
นพภัสสร โกสินทรจิตต์. (2548). ประสิทธิผลการทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุณริสาก์ สุจันทรา. (2555). การรับรู้ด้านความรู้ความเข้าใจต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการทั่วไป. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
มัลลิกา วิชชุกรอิงครัต. (2553). การทำงานเป็นทีมของพนักงานครูเทศบาลสังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต.ชลบุรี: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยบูรพา.
โรงเรียนน้ำขุ่นวิทยา.(2558). รายงานการประเมินตนเอง (Self-assessment report: SAR). อุบลราชธานี
เรณู เชื้อสะอาด. (2552). การทำงานเป็นทีมด้านวิชาการของพนักงานครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. หน้า 60-64.
สุนันทา เลาหนันทน์. (2549). การสร้างทีมงาน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: แฮนด์เมดสติกเกอร์-แอนด์ดีไซน์.
สัมมนา สีหมุ่ย. (2553). การศึกษาประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของบุคลากร องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
สิทธิโชค วรานุสันติกูล. (2548). การพัฒนาทีมงาน. กรุงเทพฯ : อักษราพิพัฒน์ จำกัด.
สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สมชาติ กิจยรรยง. (2546). การพัฒนาทีมงานบริการ. กรุงเทพฯ : ธีระป้อมวรรณกรรม.
สมาน อัศวภูมิ. การบริหารการศึกษาสมัยใหม่: แนวคิด ทฤษฎี และการปฏิบัติ. อุบลราชธานี: อุบลกิจออฟเซ็ต, 2553.
สุเมธ งามกนก. (2551). การสร้างทีมงาน วารสารศึกษาศาสตร์. ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 เดือนตุลาคม 2550 – มกราคม 2551.