การใช้กิจกรรมการอ่านแบบกว้างขวางเพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจ ในการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชธานี

Main Article Content

วสันต์ หอมจันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการใช้กิจกรรมการอ่านแบบกว้างขวางเพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) ศึกษาเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชธานี ก่อนและหลังการเรียนโดยใช้กิจกรรมการอ่านแบบกว้างขวาง 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการอ่านแบบกว้างขวาง กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชธานี จำนวน 64 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ แผนการจัดการเรียนการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้กิจกรรมการอ่านแบบกว้างขวาง จำนวน 8 แผน แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจการอ่านภาษาอังกฤษ ก่อนและหลังเรียนการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการอ่านแบบกว้างขวาง แบบบันทึกหลังการอ่านนอกชั้นเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจการเรียนการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้กิจกรรมการอ่านแบบกว้างขวาง ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป และการวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติ t-test แบบไม่อิสระ ผลการวิจัย พบว่า 1) ความรู้ความเข้าใจการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาหลังเรียนมากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความพึงพอใจต่อการเรียนการอ่าน โดยใช้กิจกรรมการอ่านแบบกว้างขวางโดยรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษฎา โพธิ์ชัยรัตน์. (2556). ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างโดยกิจกรรมการอ่านแบบกว้างขวาง. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทัศนีย์ ชาวปากน้ำ. (2557). “การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษตามแนวทางการสอนอ่านเพื่อการสื่อสาร”. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 6(1): 117-128.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2559). ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง นโยบายการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2563 จาก http://www.mua.go.th/users/bhes/front_home/ Data%20Bhes_2559/04052559.pdf

อุบลวรรณ พันธุ์พรหม, นิธิดา อดิภัทรนันท์. (2560). “การใช้กิจกรรมการอ่านอย่างกว้างขวางเพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการอ่านการเขียนและความรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3”. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 9(2): 363-375.

เอกภพ ไชยยา. (2555). การพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์การอ่านภาษาอังกฤษนอกเวลาประเภทการ์ตูน เพื่อเสริมทักษะและทัศนคติที่ดีต่อการอ่าน ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์. นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Crystal, David (2006). "Chapter 9: English worldwide". In Denison, David; Hogg, Richard M. (eds.). A History of the English language. Cambridge University Press. pp. 420–439.

Day, R., and J. Bamford. (2002). Extensive Reading in the Second Language Classroom. Cambridge: Cambridge University Press.

Galaxy Quick Reads. (2015). In partnership with Dr. Josie Billington. Reading between the Lines: the Benefits of Reading for Pleasure. London: Penguin Random House.

Nuttall, C. (2005). Teaching Reading Skills in a Foreign Language. New York: Macmillan.

Wisaijorn, Patareeya. (2017). Effects of Extensive Reading on Thai University Students. Pasaa Paritat Journal 32; 29-62.