การศึกษาเปรียบเทียบระบบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น

Main Article Content

วิจิตรา สีสด
สุรัสวดี ควรหา
สุกัญญา แช่มช้อย

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระบบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยของประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นตามบริบทต่าง ๆ ของระบบการศึกษา เป็นการศึกษาในลักษณะบรรยาย ประเภทการวิเคราะห์เอกสารและศึกษาดูงานเชิงวิชาการ ณ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งผู้เขียนได้ศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบของการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น ทั้งหมด 7 ด้าน ผลการศึกษา พบว่า 1) ระบบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ระยะเวลาในการเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นนั้นเท่ากัน คือ ระดับปริญญาตรี 4 ปี ระดับปริญญาโท 2 ปี และระดับปริญญาเอก 3 ปี แต่ประเทศญี่ปุ่น ผู้ที่มีความสามารถมีประสบการณ์เพียงพอในการทำวิทยานิพนธ์ จะสามารถส่งประเมินผ่านแค่วิทยานิพนธ์ได้โดยไม่ต้องเข้าระบบ การเรียนการสอนในระบบมหาวิทยาลัยเน้นการเรียนเชิงปฏิบัติการ และมีมหาวิทยาลัยเฉพาะทางที่สามารถรองรับอาชีพ ความต้องการของตลาดแรงงาน ได้มากกว่าประเทศไทย 2) นโยบายและปรัชญาการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ทั้งประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น มีปรัชญาทางการศึกษาและนโยบายทางการศึกษาที่คล้ายกัน คือ การมุ่งเน้นพัฒนาคนด้วยความรู้ เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมในการพัฒนาความเจริญของประเทศ 3) การสนับสนุนจากภาครัฐ มหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่นทั้งเอกชนและรัฐบาลจะได้รับการสนับสนุนด้านการศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการ รวมถึงภาคเอกชน สำหรับประเทศไทยหลายมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ และภาคเอกชนมีอิสระในการบริหารจัดการ บางมหาวิทยาลัยเน้นจำนวนผู้เรียนมากกว่าคุณภาพ 4) ด้านการส่งเสริมการทำวิจัย ในประเทศญี่ปุ่นมีหน่วยงานระดับชาติในการจัดการเกี่ยวกับวิจัยทางการศึกษาโดยตรง ซึ่งในประเทศไทยยังไม่มี จึงทำให้ญี่ปุ่นมีปริมาณงานวิจัยที่สูงกว่าไทย แต่ในขณะเดียวกันทั้งประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นก็ขาดการประเมินงานวิจัยที่เหมาะสม รวมทั้งการเผยแพร่ผลงานวิจัยและนำผลงานวิจัยไปใช้ ยังทำไม่ได้มากเท่าที่ควร 5) การปฏิบัติงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่นค่าตอบแทนของอาจารย์มหาวิทยาลัยค่อนข้างสูงกว่าในประเทศไทย และประเทศญี่ปุ่นมีระบบอาจารย์ที่ปรึกษาที่เอื้อให้นักศึกษาได้มีความใกล้ชิดกับอาจารย์มากกว่า 6) การสอบและการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ทั้งในประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นมีระบบการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยที่แตกต่างกัน ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกเข้าศึกษาได้ในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยได้เหมือนกัน 7) การสอนภาษาที่ 3 ในระดับมหาวิทยาลัย ทั้งประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นมีจุดด้อยทางด้านภาษาเหมือนกัน แต่ในด้านการสอน ประเทศญี่ปุ่นจะเน้นให้นักศึกษาสามารถสื่อสารได้ และเข้าใจถึงวัฒนธรรม ส่วนในประเทศไทยจะเน้นการสอนในเรื่องหลักการใช้ภาษา ในด้านแนวทางการนำระบบการศึกษาญี่ปุ่นมาปรับใช้ในระบบการศึกษาของไทย คือการพัฒนาการศึกษาอยู่ตลอดเวลา และเน้นการสอนแบบปฏิบัติ ให้ผู้เรียนสามารถต่อยอดความรู้ที่ได้มากกว่าการท่องจำ ทั้งนี้ก็ควรคำนึงถึงบริบทของต่าง ๆ ที่มีความแตกต่างกันด้วย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เจษฎา แก้ววรา, ชาตรี มณีโกศล, และยุพิน อินทะยะ. (2559). การศึกษาเปรียบเทียบหลักสูตรระดับประถมศึกษาของประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น. วารสารบัณฑิตวิจัย, 7(2), 168-18.

ปานเพชร ชินินทร และคณะ. (2552). การพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการการเรียนรู้กับการทำงานในสถาบันอุดมศึกษา (Work-Integrated Learning).กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

มนตรี แย้มกสิกร. (2548). ระบบการผลิตและพัฒนาครูของประเทศญี่ปุ่น (Teacher Training System in Japan). วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 16(2), 41-60.

เรืองศักดิ์ แก้วธรรมชัย. (2556). โครงการระบบการศึกษาของไทยกับญี่ปุ่น. กรุงเทพมหานคร: คณะบริหารธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.

วลัยพร แสงนภาบวร และคณะ. (2550). การกระจายอำนาจทางการศึกษาของประเทศญี่ปุ่น (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สุวิมล ว่องวาณิช และคณะ. (2541). การศึกษาเปรียบเทียบสภาพและแนวโน้มการวิจัยทางการศึกษาในประเทศไทยและญี่ปุ่น. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

สมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย. (2560). การชี้แจงระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา. สืบค้นจาก http://tcas.cupt.net/src/tcas61-detail.pdf

สมชัย ฤชุพันธ์ุ และคณะ. (2550). การศึกษาเปรียบเทียบระบบงบประมาณเพื่อการศึกษาของประเทศไทยกับประเทศต่างๆ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การกระจายอำนาจทางการศึกษาของประเทศญี่ปุ่น. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). กรอบและทิศทางการวิจัยทางการศึกษาของประเทศ (พ.ศ.2555-2558). นนทบุรี: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจริญผลกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). สถานภาพการผลิตและพัฒนาครูในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

Good, Carter V. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill Book. Likert, R. (1967).

Thanavit Singkapa. (2016). Comparative Higher Education System between Thailand and Japan. Paper presented at the The 8th Thailand-Japan International Academic Conference 2016, Bangkok, Thailand.