การประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ของคนงานตัดอ้อยและลำเลียงอ้อยขึ้นรถบรรทุกในอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์และความเมื่อยล้าจากการทำงานของคนงานตัดอ้อยและลำเลียงอ้อยขึ้นรถบรรทุกในอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี จำนวน 62 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความเมื่อยล้าของร่างกาย (Body discomfort) และแบบประเมินท่าทางการเคลื่อนไหวทั่วทั้งร่างกายอย่างรวดเร็ว (Ovako Working Posture Analysis System: OWAS) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า คนงานตัดอ้อยและลำเลียงอ้อยขึ้นรถบรรทุก ส่วนใหญ่เพศหญิง ร้อยละ 77.42 อายุระหว่าง 31-45 ร้อยละ 43.55 ระยะเวลาการทำงาน 8 ชั่วโมง/วัน ร้อยละ100.00 ความเมื่อยล้าทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของคนงานตัดอ้อยและลำเลียงอ้อยขึ้นรถบรรทุก พบว่า ส่วนใหญ่มีอาการปวดเมื่อยในระดับปานกลาง โดยพบสูงที่สุดที่ตำแหน่งแขนล่างซ้าย ร้อยละ 90.32 รองลงมา หัวเข่าขวา ร้อยละ 77.42 และแขนส่วนล่างขวา ร้อยละ 67.74 ตามลำดับ การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์โดยใช้แบบประเมิน OWAS พบว่า คนงานตัดอ้อยและลำเลียงอ้อยขึ้นรถบรรทุกส่วนใหญ่มีความเสี่ยงของท่าทางการทำงานอยู่ในระดับ 4 (มีอันตรายมาก) ท่าทางการทำงานดังกล่าวมีความเสี่ยงสูงมากที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อกล้ามเนื้อและกระดูก พบความเสี่ยงสูงในขั้นตอนการตัดโคนอ้อย ร้อยละ 56.25 รองลงมา ขั้นตอนการยกมัดอ้อยขึ้นรถบรรทุก ร้อยละ 35.71 และขั้นตอนการยกมัดอ้อยขึ้นบ่า ร้อยละ 21.43 ตามลำดับ ควรมีการจัดอบรมให้ความรู้ทางด้านการยศาสตร์และท่าทางการทำงานที่เหมาะสมให้กับคนงานตัดอ้อยและลำเลียงอ้อยขึ้นรถบรรทุก เพื่อป้องกันการบาดเจ็บทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อและโรคปวดหลังจากการทำงานในระยะยาว
Article Details
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะใด ๆ ที่นำเสนอในบทความเป็นของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียวโดยบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการวารสารราชธานีนวัตกรรมทางสังคมศาสตร์ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด มหาวิทยาลัย บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดหรือผลที่เกิด จากการใช้ข้อมูลที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้
References
รัชนี จูมจี, อรอนงค์ บุรีเลิศ, นพรัตน์ ส่งเสริม และเฉลิมสิริ เทพพิทักษ์. (2559). ความชุกของอาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา. ในการประชุมวิชาการทางการยศาสตร์แห่งชาติ.(หน้า 1-10). นครราชสีมา: ส านักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
รายงานพื้นที่เพาะปลูกอ้อยและผลผลิตการผลิต. (2557). อัตราการเกิดการบาดเจ็บของผู้ประกอบอาชีพไร่อ้อย. สืบค้นจาก https:// www.sites.google.com/site/ phanthugh/prawati เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2560
สุรสิทธิ์ ระวังวงศ์, จุฬาลักษณ์ โรจนานุกูล, วิทยา ศิริคุณ, จักรนรินทร์ ฉัตรทอง วรพงศ์ บุญช่วยแทน. (2558). ในรายงานการประชุมวิชาการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาร่วมกับ Higher Education Research Promotion & National Research University.
อนันต์ จันทร์ไพร. (2558). รายงานสุขภาพกลุ่มเกษตรกรที่มีความรู้ต่ำ มีความเคยชินกับความผิดปกติทางกล้ามเนื้อและกระดูก. สืบค้นจาก
https:// www.sites.google.com/site/phanthugh/prawati เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2560