การคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของจำเลยในคดีอาญา : กรณีการขอปล่อยตัวชั่วคราว
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นโดยมีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึง (1) แนวคิดและหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของจำเลยในคดีอาญาตามแนวคิดการดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่ดี (2) ศึกษาสิทธิที่จะได้รับการปล่อยชั่วคราวของจำเลยในคดีอาญา กรณีการขอปล่อยตัวชั่วคราว (3) ศึกษาสภาพปัญหาในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของจำเลยในคดีอาญา กรณีการขอปล่อยตัวชั่วคราว และ (4) ศึกษาแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิที่จะได้รับการปล่อยชั่วคราวของจำเลย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ประกอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
จากการศึกษาพบว่า แนวคิดและหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของจำเลยในคดีอาญาการควบคุมอาชญากรรม และการดำเนินคดีอาญาที่เป็นธรรม บทบัญญัตินี้มีขึ้นเพื่อให้สังคมนั้นอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขและมีความปลอดภัยจากอาชญากรรม สำหรับสิทธิของจำเลยเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้รับประกันสิทธิของจำเลยที่ถูกฟ้องในคดีอาญาว่า ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยไม่มีความผิด และก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ ส่วนสภาพปัญหาในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของจำเลยในคดีอาญา พบว่า เท่าที่ปฏิบัติกันมา การพิจารณาปล่อยชั่วคราว มักจะยึดถือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของจำเลยหรือผู้ประกันเป็นหลัก มากกว่าสิทธิและเสรีภาพของจำเลย ซึ่งขัดกับวัตถุประสงค์ของรัฐธรรมนูญและกฎหมาย จึงควรแก้ไขต่อไป โดยต้องแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 107 เมื่อได้รับคำร้องให้ปล่อยชั่วคราว ให้เจ้าพนักงานหรือศาลรีบสั่งอย่างรวดเร็วและผู้ต้องหาหรือจำเลยทุกคนต้องได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว
Article Details
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะใด ๆ ที่นำเสนอในบทความเป็นของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียวโดยบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการวารสารราชธานีนวัตกรรมทางสังคมศาสตร์ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด มหาวิทยาลัย บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดหรือผลที่เกิด จากการใช้ข้อมูลที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้
References
ข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการเรียกประกันหรือหลักประกันในการปล่อยชั่วคราว พ.ศ. 2548.
คณิต ณ นคร. (2549). กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์วิญญูชน.
จิตติมา กำธรวิวรรธน์. (2549). การปล่อยชั่วคราวโดยมีกำหนดเงื่อนไข, ศึกษาเปรียบเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นันท์นภัส สุปิยะพันธ์, ประทีป อับอัตตานนท์ , สะอาด หอมมณี. (2557). การปล่อยชั่วคราวโดยการนำมาตรการคุมขังแบบไม่ควบคุมตัวโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์, วารสารวิชาการศรีปทุมชลบุรี.
ปราโมทย์ ประจนปัจจนึก .(2549). การปล่อยชั่วคราว. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ปีที่ 32.
พชรมณฑ์ ภูมสถิต. (2557). ปล่อยตัวชั่วคราว, ศึกษาเปรียบเทียบระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษรและกฎหมายจารีตประเพณีกับกฎหมายไทย , มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
พนัส ทัศนียานนท์. (2522). สิทธิในการประกันตัวของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา, วารสารอัยการ 2.
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2558.
เพชร สระทองอุ่น. (2530). ดุลพินิจพนักงานสอบสวนในการปล่อยชั่วคราว , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มารศรี เพ็ญโรจน์. (2542). สิทธิของผู้ต้องหาและจำเลยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ศึกษาเฉพาะกรณีสิทธิที่จะได้รับการปล่อยชั่วคราว, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการปล่อยชั่วคราว พ.ศ. 2548.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557.
สุทธิณัฐ ไชยเจริญ. (2549). การปล่อยชั่วคราวโดยศาล, ศึกษาความเสมอภาคที่จะได้รับการปล่อยชั่วคราว. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อภิรดี โพธิ์พร้อม. (2550).โครงการวิจัยเรื่องปัญหาความไม่เสมอภาคในกระบวนการยุติธรรมที่ประชาชนได้รับ. กรุงเทพมหานคร , สำนักงานศาลยุติธรรม,พิมพ์ครั้งที่ 1