การเข้าสู่ระบบอุดมศึกษาของสตรีอังกฤษ
บทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งที่จะแสดงว่าวรรณกรรมอังกฤษสามารถสะท้อนให้เห็นปัญหาในการเข้าสู่ระบบอุดมศึกษาของสตรีอังกฤษและทัศนคติของสังคมว่าเป็นอย่างไร โดยศึกษาผ่านบทละครเรื่อง Mrs. Warren’s Profession ของจอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ (George Bernard Shaw) และนวนิยายเรื่อง Ann Veronica ของเอช จี เวลส์ (H.G. Wells) งานเขียนของนักเขียนสองคนนี้มีเนื้อหาและมุมมองที่สะท้อนให้เห็นถึงข้อจำกัดทางโอกาส เศรษฐกิจ และทัศนคติของสังคมที่ก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในการเข้าสู่ระบบอุดมศึกษาของสตรีอังกฤษในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเวลาที่สตรีอังกฤษกำลังเรียกร้องสิทธิด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง และที่สำคัญก็คือ โอกาสทางการศึกษา
The Early Years of British Women and University Education in George Bernard Shaw’s Mrs Warren’s Profession and H.G. Wells’ Ann Veronica
This research demonstrates how works of English fiction reflect the problems of British women and their access to university education, problems which were due largely to social attitudes, are seen in George Bernard Shaw’s Mrs. Warren’s Profession and H.G. Wells’ Ann Veronica. Both works point to the limitations in terms of economic opportunity and the discrimination that posed problems for women at the end of the nineteenth and in the early twentieth centuries. This period coincides with the time when women were demanding equal rights in both the socio-economic and political sphere and, most importantly, in education.
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
การป้องกันปัญหาด้านลิขสิทธิ์และการคัดลอกผลงาน
ผู้เขียนบทความมีหน้าที่ในการขออนุญาตใช้วัสดุที่มีลิขสิทธิ์คุ้มครองจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้เขียนบทความมีความรับผิดชอบที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายในการคัดลอกและทำสำเนาวัสดุที่มีลิขสิทธิ์อย่างเคร่งครัด การคัดลอกข้อความและการกล่าวพาดพิงถึงเนื้อหาจากวัสดุตีพิมพ์อื่น ต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มากำกับและระบุแหล่งที่มาให้ชัดเจนในส่วนบรรณานุกรม การคัดลอกข้อความหรือเนื้อหาจากแหล่งอื่นโดยไม่มีการอ้างอิงถือเป็นการละเมิดจริยธรรมทางวิชาการที่ร้ายแรง และเข้าข่ายการละเมิดลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 หากมีการฟ้องร้องดำเนินคดีใด ๆ เกิดขึ้น ผู้เขียนบทความมีความรับผิดชอบทางกฎหมายแต่เพียงผู้เดียว