รักแรกแรกรักร้าง...L’Amant ของมาร์เกอริต ดูราส

ผู้แต่ง

  • วรุณี อุดมศิลป จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

นวนิยายฝรั่งเศสคริสต์ศตวรรษที่ 20, มาร์เกอริต ดูราส, คนรักจากโคลอง, แก่นเรื่องความรัก, เสียงผู้เล่า

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการวิเคราะห์แก่นเรื่องความรักซึ่งนับเป็นแก่นเรื่องหลักประการหนึ่งในนวนิยายเรื่อง L’Amant ของมาร์เกอริต ดูราส (Marguerite Duras) และอธิบายกลวิธีการประพันธ์นวนิยายเรื่องนี้ นวนิยายเรื่อง L’Amant กล่าวถึงความทรงจำของตัวละครผู้เล่าเรื่องที่ย้อนอดีตในวัยสาวน้อยอายุสิบห้าย่างสิบหกปี เธอเป็นชาวฝรั่งเศสที่อยู่ในเวียดนามเมื่อครั้งเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ผู้เล่ารื้อฟื้นเหตุการณ์ในอดีตเมื่อได้รู้จักกับชายชาวจีนผู้ที่เธอมีความสัมพันธ์ฉันชู้รักด้วยในเวลาต่อมา การย้อนอดีตไม่เพียงแต่เปิดโอกาสให้ผู้เล่าได้หวนระลึกถึงความรักครั้งแรกเท่านั้น แต่เธอยังได้ทบทวนความรู้สึกและความสัมพันธ์ที่มีต่อบุคคลในครอบครัวอันประกอบด้วยแม่ พี่ชายคนโต และพี่ชายคนเล็ก รวมทั้งเปิดเผยตัวตนและความใฝ่ฝันที่จะเป็นนักเขียนอีกด้วย ความรักจึงนำมาวิเคราะห์ได้ในหลายมิติตามความสัมพันธ์ระหว่างผู้เล่ากับตัวละครอื่น ๆ ที่ปรากฏตัวในแวดวงชีวิตของผู้เล่า ในด้านกลวิธีการประพันธ์ มาร์เกอริต ดูราส ใช้วิธีการเล่าเรื่องที่ไม่ร้อยเรียงตามลำดับเวลา ข้ามหรือละเว้นรายละเอียดอีกมากจนกลายเป็นปริศนาสำหรับผู้อ่าน ใช้ทั้งสรรพนามบุรุษที่ 1 (“ฉัน”) และสรรพนามบุรุษที่ 3 (“หล่อน”) ในการเล่าเรื่อง รวมทั้งไม่เอ่ยชื่อของผู้เล่า สร้างความคลุมเครือระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องแต่ง กลวิธีการเปลี่ยนสรรพนามในการเล่าเรื่องจาก“ฉัน”เป็น“หล่อน” จึงแสดงให้เห็นระยะห่างระหว่างผู้แต่ง–ผู้เล่า–ตัวละคร และสร้างมิติเวลาในอดีตของความเป็นเรื่องเล่า เหตุการณ์และมิติเวลา–สถานที่ในนวนิยายสอดคล้องกับรายละเอียดในอัตชีวประวัติของผู้ประพันธ์ซึ่งเคยเป็นเด็กสาวชาวฝรั่งเศสที่พำนักในเวียดนามระหว่างช่วงเวลาอาณานิคม

Author Biography

วรุณี อุดมศิลป, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะอักษรศาสตร์

References

ภาษาไทย

Balzac, H. de บัลซัค, อาช. เดอ. (1999). Phor Koriyo พ่อกอริโยต์ [Le Père Goriot] (Ladda Wongsayan & Walaya Wiwatsorn, Trans.). Butterfly.

Duras, M ดูราส, แอม. (1997). Koen kan paesifik เขื่อนกั้นแปซิฟิก [Un barrage contre le Pacifique] (Amphan Otrakul, Trans.). Tantawan.

Duras, M ดูราส, แอม. (1993a). Khon rak chak Kolong คนรักจากโคลอง [L’Amant] (Samporn, Trans.). Chabkrae.

Duras, M ดูราส, แอม. (1993b). Raek rak แรกรัก [The Lover] (Intira, Trans.). Smit.

Thira Suksawasdi Na Ayuthya ธีรา ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา. (2011). Marguerite Duras raeng bandanjai chak nam su krongsang kwamkid baeb khutrongkham มาร์เกอริต ดูราส แรงบันดาลใจจากน้ำสู่โครงสร้างความคิดแบบคู่ตรงข้าม [Marguerite Duras, the water inspiration as a link to dichotomies]. Manutsayasat san มนุษยศาสตร์สาร [Journal of Human Sciences], 12(1), 16-30.

Thira Suksawasdi Na Ayuthya ธีรา ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา. (n.d.). Buraphakadiniyom nai wannakam khong Marguerite Duras บูรพคดีนิยมในวรรณกรรมของมาร์เกอริต ดูราส [Orientalism in Marguerite Duras’s literary works] [Research report, Chiang Mai University]. CMUDC. https://cmudc.library.cmu.ac.th/frontend/Info/item/dc:32223

Thira Suksawasdi Na Ayuthya ธีรา สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา. (1999). Mong Indochin chak nangsue song lem khong Marguetire Duras Un Barrage contre le Pacifique (Koen kan paesifik) lae L’Amant (Khon rak chak Kolong) มองอินโดจีนจากหนังสือสองเล่มของมาร์เกอริต ดูราส Un Barrage contre le Pacifique (เขื่อนกั้นแปซิฟิก) และ L’Amant (คนรักจากโคลอง) [Indochina as depicted in Marguerite Duras’s Un Barrage contre le Pacifique and L’Amant]. Silpa wattanatham ศิลปวัฒนธรรม [Art & Culture], 20(9), 148-159.

ภาษาต่างประเทศ

Adler, L. (1998). Marguerite Duras. Gallimard.

Armel, A. (1990). Repères biographiques. Magazine littéraire, 278, 25-27.

Armel, A. (1998). Marguerite Duras. Les trois lieux de l’écrit. Christian Pirot.

Barbéris, D. (1992). Marguerite Duras, Moderato Cantabile / L’Amant. Nathan.

Borgomano, M. (2010). Marguerite Duras. De la forme au sens. L’Harmattan.

Bourgeois, S. (2007). Marguerite Duras. Une écriture de la réparation. L’Harmattan.

Denes, D. (1997). Étude sur Marguerite Duras, L’Amant. Ellipses.

Dunoyer, C., Stolz, Cl., Cavrois, J-M., Degranges, C. D., Tres-Guillaume, M-L. & Molinié, G. (2007).

Nouvelle grammaire du collège, 6e, 5e, 4e, 3e. Magnard.

Duras, M. (1950). Un barrage contre le Pacifique. Coll. Folio. Gallimard.

Duras, M. (1984). L’Amant. Les Éditions de Minuit.

Duras, M. (1991). L’Amant de la Chine du Nord. Coll. Folio. Gallimard.

Lemaitre, H. (1984). L’Aventure littéraire du XXe siècle, 1920-1960. Coll. Littérature. Pierre Bordas et fils.

รูปภาพ

ECLA Aquitaine. (2010). Rencontre de Duras, 14, 15 et 16 mai 2010. Marguerite Duras, alcool et écriture. [Affiche publicitaire]. http://ecla.aquitaine.fr/Agenda-et-actualités/Agenda/Ecrit-et-livre/2010

Français loisir. (2011). [Marguerite Duras dans sa jeunesse, portant un chapeau à l’image de la protagoniste de L’Amant]. https://francaisloisir.blogspot.com/2011/04/marguerite-duras.html

IMDb. (n.d.). [Image publicitaire du film L’Amant : la première rencontre des protagonistes, l’habit de la narratrice-personnage]. https://www.imdb.com/media/rm1717245696/tt0101316

Le spécialiste des chapeaux. (2019). [Le chapeau en feutre, aux bords plats et au large ruban noir, porté par la protagoniste dans le film L’Amant]. http://www.le-chapelier-rodez.com/images/chapeau-l-amant_5.jpg

Le spécialiste des chapeaux. (2019). [Scène tirée du film L’Amant : l’habit et la voiture de luxe du riche chinois, l’amant de la protagoniste]. http://www.le-chapelier-rodez.com/chapeau-lamant/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-28

How to Cite

อุดมศิลป . ว. . (2022). รักแรกแรกรักร้าง.L’Amant ของมาร์เกอริต ดูราส. วารสารอักษรศาสตร์, 51(2), 1–20. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jletters/article/view/263851