ความสัมพันธ์ระหว่างเกณฑ์การจัดหมู่อัญมณีในยุกติกัลปตรุ ของโภชะ กับหลักอายุรเวท

ผู้แต่ง

  • อรุณวรรณ คงมีผล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ศาสตร์แห่งอัญมณีอินเดีย, วรรณคดีสันสกฤตประเภทศาสตร์, ยุกติกัลปตรุ, ปรัชญาไวเศษิกะ, อายุรเวท

บทคัดย่อ

ในรัตนปรีกษาฉบับยุกติกัลปตรุซึ่งประพันธ์โดยพระเจ้าโภชะ อัญมณีสำคัญบางชนิดได้รับการจัดหมู่โดยใช้เกณฑ์หลายรูปแบบเกณฑ์ส่วนใหญ่อ้างถึงแนวคิดทางอายุรเวท ซึ่งจำเป็นต้องมีการศึกษาค้นคว้าเพื่อพิสูจน์ความเที่ยงตรงของข้อมูล บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาเกณฑ์การจัดหมู่อัญมณีประเภทเพชรและไข่มุกในรัตนปรีกษาฉบับยุกติกัลปตรุโดยเน้นเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับหลักวิชาอายุรเวท และศึกษาในแง่ของลักษณะการจัดหมู่ภายในตัวบทและความเชื่อมโยงระหว่างตัวบทกับหลักวิชาอายุรเวท ผลการศึกษาแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างการจัดหมู่อัญมณีกับหลักการพื้นฐานของอายุรเวทอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ปัญจมหาภูตะ ตริโทษะ รวมถึงวรรณะ 4 ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับพื้นฐานของอายุรเวทได้ด้วย ส่วนความคลาดเคลื่อนของการนำเสนอข้อมูลพบค่อนข้างน้อย ลักษณะเช่นนี้แสดงว่าผู้แต่งยุกติกัลปตรุมีแนวโน้มที่พยายามนำหลักอายุรเวทมาประยุกต์ใช้กับการตรวจสอบคุณสมบัติของอัญมณี อีกทั้งสะท้อนธรรมชาติของงานนิพนธ์ประเภทศาสตร์ของอินเดียที่ผสมผสานความรู้ต่างสาขาเข้ากับความรู้มูลฐาน เพื่อให้การศึกษาความรู้มูลฐานเป็นไปโดยกระจ่างและลึกซึ้ง

Author Biography

อรุณวรรณ คงมีผล, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์

References

ภาษาไทย

Aroonwan Kongmebhol อรุณวรรณ คงมีผล. (2018). Sarattha lae khwam samkhan khong sat haeng anyamani India boran สารัตถะและความสำคัญของศาสตร์แห่งอัญมณีอินเดียโบราณ [Essence and significance of ancient Indian lapidaries] [Doctoral dissertation, Chulalongkorn University]. CUIR. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73364

Sunthorn Na-Rangsi สุนทร ณ รังษี. (2002). Pratya India: Prawat lae Latthi ปรัชญาอินเดีย: ประวัติและลัทธิ [Indian philosophy: History and thought]. Chulalongkorn University Press.

Thewan Thaneerat et al. เทวัญ ธานีรัตน์ และคณะ (Eds.). (2008). Tamra wichakan ahan phuea sukkhaphap ตำราวิชาการอาหารเพื่อสุขภาพ [Food-for-Health textbook]. Department of Thai Traditional and Alternative Medicine.

ภาษาอังกฤษ

Balkrishna, A. (2015). A practical approach to the science of Ayurveda: A comprehensive guide for healthy living. Lotus Press.

Bhaurao, D. S. (2017). Understanding the concept of Varnotpatti in Ayurveda. International Journal of Innovative Research in Medical Science 2(9), 1341-1345.

Janki, S. S. (2003). Ayurveda (Sanskrit). In A. Datta (Ed.), Encyclopaedia of Indian literature: A-Devo (Vol. 1, pp. 310-311). Sahitya Akademi.

Oldenberg, H. (1997). The doctrine of the Upaniṣads and the early Buddhism. Motilal Banarsidass.

Patel, S., Bhagat, V. V., & Rathod, K. (2019). A comprehensive and comparative view of GUNAS in Ayurveda and Vaisesika philosophy. International Journal of Advanced Research, 7(7), 576-587. http://dx.doi.org/10.21474/IJAR01/9397

Ramesh, G., & Yadav, C. R. (2017). Interrelation between tridosa & triguna. International Ayurvedic Medical Journal, 5(9), 3540-3548.

Revankar, R. G. (1971). The Indian constitution--A case study of backward classes. Associated University Press.

Roy, M. (2006). Āyurveda. In P. Ray & S. N. Sen (Eds.), The cultural heritage of India vol. VI: Science and technology (pp. 152-176). The Ramakrishna Mission Institute of Culture, Kolkata.

Singh, L. M. (1999). Doṣa in Āyurveda. In K. Advaitavadini & C. Sukumar (Eds.), Kalātattvakośa: A lexicon of fundamental concepts of the Indian arts vol. IV: Manifestation of nature (pp. 218-226). Indira Gandhi National Centre for the Arts and Motilal Banarsidass.

Tirtha, S. S. (2005). The Āyurveda encyclopedia: Natural secrets to healing, prevention & longevity (5th ed.). Ayurveda Holistic Center Press.

Walker, B. (1995a). Humours. In Hindu world: An encyclopedic survey of Hinduism vol. I: A-L (pp. 466-467). Indus.

Walker, B. (1995b). Substance. In Hindu world: An encyclopedic survey of Hinduism vol. II: M-Z (pp. 440-442). Indus.

ที่มาของต้นฉบับงานนิพนธ์สันสกฤต พร้อมอักษรย่อ

CS. Caraka-Saṃhitā (500 B.C. - A.D. 400)

Sharma, P. V. (1998). Caraka Saṃhitā (Text with English Translation). Chaukhambha Orientalia.

SS. Suśruta-Saṃhitā (500 B.C. - A.D. 500)

Āchārya, N. R. (Ed.). (1945). The Suśrutasaṃhitā of Suśruta: With various readings, notes and appendix, etc. Satyabhāmābāī Paṇḍurang.

YKT. Yuktikalpataru of Bhojarāja (A.D. 1075)

Sastri, P. I. C. (Ed.). (2018). Yuktikalpataruḥ mahārāja-śrībhoja-viracitaḥ (Yuktikalpataru by King Bhoja). In Aroonwan Kongmebhol, Sarattha lae khwam samkhan khong sat haeng anyamani India boran สารัตถะและความสำคัญของศาสตร์แห่งอัญมณีอินเดียโบราณ [Essence and significance of ancient Indian lapidaries] (pp. 160-282). [Doctoral dissertation, Chulalongkorn University]. CUIR. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73364 (Original work published 1917)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29

How to Cite

คงมีผล อ. (2022). ความสัมพันธ์ระหว่างเกณฑ์การจัดหมู่อัญมณีในยุกติกัลปตรุ ของโภชะ กับหลักอายุรเวท. วารสารอักษรศาสตร์, 51(2), 159–186. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jletters/article/view/259132