ลักษณะเฉพาะของภาษาบาลีในคำบูชาพระธาตุและพระพุทธรูปทางภาคเหนือของประเทศไทย

Authors

  • นนท์ลชา ณะภูมิ
  • สมพรนุช ตันศรีสุข

Abstract

บทความนี้ จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาลักษณะเฉพาะของภาษาบาลีในคาบูชาพระธาตุและพระพุทธรูปสาคัญในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย 8 จังหวัด โดยได้คัดเลือกคำบูชาภาษาบาลีมาศึกษา จานวน 53 บท จากการศึกษาพบว่า คำบูชาพระธาตุและพระพุทธรูป มักเป็นร้อยแก้วสานวนนิยม ประกอบด้วยโครงสร้างและส่วนประกอบที่คล้ายกัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นแนวคิดและเนื้อหาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานอย่างเดียวกัน อีกทั้งพบว่ามีลักษณะเฉพาะ 3 ประการ ได้แก่ 1. มีการสร้างคำวิสามัญนามภาษาบาลีซึ่งได้รับวิธีการจากวรรณกรรมบาลีในล้านนา 2. เพศ วิภัตติ และพจน์ของคำนามแตกต่างจากไวยากรณ์มาตรฐาน 3. มีการลำดับคำจากประธาน กิริยา กรรม คล้ายภาษาไทย ซึ่งลักษณะภาษาบาลีในคำบูชานี้ สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของภาษาไทย และวิธีการที่เอื้อต่อการเปล่งเสียงคำบูชาอย่างชัดเจน

Downloads

Published

2017-07-25

How to Cite

ณะภูมิ น., & ตันศรีสุข ส. (2017). ลักษณะเฉพาะของภาษาบาลีในคำบูชาพระธาตุและพระพุทธรูปทางภาคเหนือของประเทศไทย. Journal of Letters, 46(1), 99–133. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jletters/article/view/94163