การวิเคราะห์ขีดความสามารถในการรองรับการท่องเที่ยวข้ามแดนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย และแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบการประเมินขีดความสามารถในการรองรับ การท่องเที่ยวข้ามแดน กรณีศึกษาพื้นที่ชายแดนจังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย และแขวงจาปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แบบการประเมินดังกล่าวเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนการค้นหาดัชนีชี้วัดการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วยตัวชี้วัดทั้งหมด 14 ตัวชี้วัด แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ 1) ด้านกายภาพ-สิ่งแวดล้อม 2) ด้านสังคม-วัฒนธรรม และ 3) ด้านเศรษฐกิจ-นโยบาย จากนั้นนามาวิเคราะห์ด้วยเทคนิค Weight Linear Combination โดยผลการวิเคราะห์พบว่า ขีดความสามารถการรองรับการท่องเที่ยวเฉลี่ยทุกพื้นที่ของทั้งจังหวัดอุบลราชธานีและแขวงจาปาสักมีขีดความสามารถในการรองรับได้อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 37.78 และร้อยละ 35.44 ตามลาดับ อย่างไรก็ตาม หากแยกพิจารณารายอาเภอของแต่ละจังหวัด พบว่า ความสามารถในการรองรับสูงสุดของจังหวัดอุบลราชธานี อยู่ที่อาเภอพิบูลมังสาหาร คิดเป็นร้อยละ 69.24 และต่าสุดอยู่ที่อาเภอน้าขุ่น คิดเป็นร้อยละ 18.69 ในขณะที่พื้นที่ที่มีขีดความสามารถในการรองรับการท่องเที่ยวสูงสุดของแขวงจาปาสัก อยู่ที่เมืองปากซอง คิดเป็นร้อยละ 55.31 และต่าสุดคือเมืองบางเจียงเจริญสุข คิดเป็นร้อยละ 7.26 นอกจากนี้ การศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาตัวชี้วัดที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาศักยภาพของการท่องเที่ยวข้ามแดนอย่างยั่งยืนด้วยการวิเคราะห์ทางสถิติแบบสหสัมพันธ์พหุคูณ พบว่า อัตราการเกิดใหม่ของอาชีพงานในพื้นที่จุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว การให้บริการจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยว และความหลากหลายของกิจกรรมการท่องเที่ยว มีความสาคัญต่อการเสริมศักยภาพขีดความสามารถในการรองรับการท่องเที่ยว และเป็นประโยชน์ต่อการเสนอแนวทางการวางแผนนโยบายด้านการท่องเที่ยวเพื่อสนับสนุน การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไปDownloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright and plagiarism
Authors are responsible for obtaining permission to use copyrighted materials from copyright owners. Authors are responsible for observing requisite copyright law when quoting or reproducing copyrighted materials. Quotations and reproductions of content from other published sources must be accompanied by a reference and all sources should be clearly listed in the references section. Quotations and reproductions of content from external sources without due attribution could be considered a severe infringement of academic conduct and may constitute a legal offence under the Copyright Act of B.E. 2537. Any legal ramifications arising from the infringement of copyright regulations would be the sole responsibility of the author(s).