พระนามเจ้าฟ้าสมัยรัตนโกสินทร์: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมไทย

Authors

  • ดนัย พลอยพลาย
  • ศิริพร ภักดีผาสุข

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษาในการขนานพระนามและการเฉลิมพระนามเจ้าฟ้าในสมัยรัตนโกสินทร์ และศึกษาความคิด ความเชื่อ และค่านิยมในการขนานพระนามและการเฉลิมพระนามเจ้าฟ้าในสมัยรัตนโกสินทร์ ข้อมูลพระนามเจ้าฟ้าที่ใช้วิเคราะห์รวบรวมจากหนังสือ ราชสกุลวงศ์ (2554) เป็นหลัก จากการศึกษาพบว่า พระนามเจ้าฟ้ามีองค์ประกอบ 2 ส่วน ได้แก่ พระนามและสร้อยพระนาม การมีองค์ประกอบทั้งสองส่วนนี้ถือเป็นลักษณะเฉพาะของพระนามเจ้าฟ้า กลวิธีทางภาษาในการขนานพระนามและการเฉลิมพระนามมี 4 กลวิธีหลัก ได้แก่ การใช้คาศัพท์ การอ้างอิงพระนาม การส่งสัมผัสคล้องจอง และการใช้รูปอักษร กลวิธีเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความสาคัญของเจ้าฟ้า ลาดับชั้นของเจ้าฟ้า ความสัมพันธ์ของเจ้าฟ้ากับพระมหากษัตริย์และราชสกุล เพศสภาวะ และการอานวยสิริมงคล สาหรับความคิด ความเชื่อ และค่านิยมที่พบในการขนานพระนามและการเฉลิมพระนามเจ้าฟ้าสมัยรัตนโกสินทร์มี 5 ประการ ได้แก่ ความคิดเรื่องพระราชอานาจของพระมหากษัตริย์ การให้ความสาคัญแก่พระชาติกาเนิดเจ้าฟ้า การสืบราชสันตติวงศ์ ค่านิยมเรื่องเพศสภาวะ และความเชื่อเรื่องสิริมงคล

Downloads

Published

2017-07-25

How to Cite

พลอยพลาย ด., & ภักดีผาสุข ศ. (2017). พระนามเจ้าฟ้าสมัยรัตนโกสินทร์: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมไทย. Journal of Letters, 46(1), 59–97. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jletters/article/view/94084