เมื่อนักการเมืองไทยขอโทษ: การวิเคราะห์วัจนกรรมการขอโทษผ่านสื่อสาธารณะตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์

Authors

  • ประไพพรรณ พึ่งฉิม ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

วัจนกรรมการขอโทษ, ชุดวัจนกรรม, นักการเมือง, สื่อสาธารณะ, วัจนปฏิบัติศาสตร์, speech act of apology, speech act set, politician, public media, pragmatics

Abstract

การขอโทษเป็นวัจนกรรมที่มีการศึกษากันอย่างกว้างขวางในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม การศึกษาการขอโทษที่ผ่านมาเป็นการขอโทษระหว่างบุคคล ยังไม่มีการศึกษาการขอโทษของบุคคลสาธารณะผ่านสื่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการขอโทษของนักการเมืองไทยผ่านสื่อสาธารณะตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์ ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยคือชุดวัจนกรรมการขอโทษผ่านสื่อสาธารณะของนักการเมืองตั้งแต่ พ.ศ. 2554-2558 รวมทั้งสิ้น 33 ชุด ผลการวิจัยพบว่าการขอโทษของนักการเมืองเผยแพร่สู่สาธารณชน 5 ช่องทาง คือ 1) การขอโทษผ่านการแถลงข่าว 2) การขอโทษทางรายการวิทยุโทรทัศน์ของรัฐบาล 3) การขอโทษในที่ชุมนุมชน 4) การขอโทษผ่านทางเฟซบุ๊ก และ 5) การขอโทษผ่านการตอบคำถามสื่อมวลชน กลวิธีการขอโทษของนักการเมืองประกอบด้วยกลวิธีหลัก 6 กลวิธีคือ 1) การใช้ถ้อยคำแสดงพลังวัจนกรรมการขอโทษ 2) การยอมรับสถานการณ์ความผิด 3) การแก้ตัว 4) การเสนอชดใช้ 5) การสัญญาว่าจะแก้ไขปรับปรุง และ 6) การแสดงความมุ่งมั่นจะปฏิบัติงานให้ดี กลวิธีดังกล่าวแตกต่างไปจากลักษณะการขอโทษระหว่างบุคคลดังผลการศึกษาที่ผ่านมา กลวิธีการขอโทษของนักการเมืองแสดงให้เห็นว่าการขอโทษไม่ใช่การยอมรับผิดแต่เป็นการยอมรับว่ามีสถานการณ์ความผิด และการแก้ตัวเป็นกลวิธีที่ขาดไม่ได้ เนื่องจากนักการเมืองต้องการคงความน่าเชื่อถือและพื้นที่ทางการเมืองไว้ จึงต้องใช้กลวิธีที่จะปัดความผิดหรือทำให้ความผิดออกห่างจากตัวให้มากที่สุด ในขณะเดียวกันก็นำเสนอภาพที่ดีเพื่อชดเชยหรือหักล้างความผิด

When Thai politicians apologize: A Pragmatics Analysis of the Speech Act of Apology on Public Media

Apology is a speech act that has been widely studied during the past 15 years. Nevertheless, the focus of such studies has been on interpersonal apologies, never on the apologies made by public figures through the media. This article aims to conduct a pragmatics study of the apology techniques of Thai politicians on public media. The data used in the research includes 33 speech act sets of politicians’ apologies on public media from 2011 to 2015. The research reveals that the politicians’ apologies are broadcasted to the public via five channels which are 1) press conferences, 2) government’s radio/television programs, 3) public gatherings, 4) Facebook posts, and 5) press Q&A. The politicians’ apology techniques consist of six main techniques: 1) using words that demonstrate the power of apology speech acts, 2) accepting the faulty situation,  3) making excuses, 4) offering compensations, 5) promising an improvement, and 6) showing commitment to perform efficiently. Said techniques differ from interpersonal apologies found in previous studies. The politicians’ apologizing techniques suggest that apology is not tantamount to admitting faults, but rather admitting faulty situations, and making excuses is an indispensable technique. Since politicians wish to maintain credibility and political space, it is imperative for them to spread the blame or steer the blame away from themselves as much as possible, meanwhile maintaining a positive image to compensate for or refute the mistakes.


Downloads

Published

2016-07-01

How to Cite

พึ่งฉิม ป. (2016). เมื่อนักการเมืองไทยขอโทษ: การวิเคราะห์วัจนกรรมการขอโทษผ่านสื่อสาธารณะตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์. Journal of Letters, 45(2), 305–350. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jletters/article/view/89404