ธนุรเวทฉบับอัคนิปุราณะและฉบับศารงคธรปัทธติ: ความต่างสะท้อนสถานภาพ

Authors

  • เจียระไน วิทิตกูล ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ธนุรเวท, อัคนิปุราณะ, ศารงคธรปัทธติ, ความแตกต่าง, สถานภาพ, Dhanurveda, Agni Purāṇa, Śārṅgadharapaddhati, Function, Archery

Abstract

บทความนี้มุ่งศึกษาวรรณคดีธนุรเวทสองฉบับ คือธนุรเวทฉบับอัคนิปุราณะและฉบับศารงคธรปัทธติ โดยจำกัดเฉพาะเนื้อหาว่าด้วยกระบวนการฝึกฝนธนู เพื่อเปรียบเทียบและอธิบายลักษณะและสถานภาพของวรรณคดีทั้งสอง ผลการศึกษาพบว่าธนุรเวทสองฉบับนี้มีความแตกต่างทั้งในด้านรูปแบบและเนื้อหา ธนุรเวทฉบับอัคนิปุราณะนั้นไม่มีการแบ่งหมวดหมู่และการเรียบเรียงข้อมูล ทั้งยังมีเนื้อหาบางส่วนซ้ำซ้อน ขาดตกบกพร่อง และน่ากังขาถึงความเป็นไปได้ในการนำไปใช้อีกด้วย จึงมีโอกาสมากว่าธนุรเวทฉบับนี้จะเป็นการรวบรวมศาสตร์การธนูมาบันทึกไว้เพื่อรักษาองค์ความรู้มากกว่าจะมุ่งเน้นการถ่ายทอด ในขณะที่ธนุรเวทฉบับศารงคธรปัทธตินั้นมีการเรียบเรียงอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย   ง่ายต่อการค้นคว้า มีเนื้อหาที่ครอบคลุม ใช้งานได้จริง และมีกลวิธีนำเสนอข้อมูลที่แสดงถึงความคำนึงต่อผู้ใช้อย่างเห็นได้ชัด ทำให้สันนิษฐานได้ว่า ธนุรเวทฉบับนี้รวบรวมขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อการเผยแพร่ความรู้เป็นสำคัญ และน่าจะมีฐานะเป็นตำราประกอบ   การเรียนการสอนธนู

Agni Purāṇa Dhanurveda and Śārṅgadharapaddhati Dhanurveda: Differences, Roles, and Functions

This research compares the archery training sections of Agni Purāṇa Dhanurveda and Śārṅgadharapaddhati Dhanurveda, the two versions of ancient Indian military literatures. The goal is to clarify the similarities and differences between these Dhanurvedas and to discover the roles and functions of the literatures. Upon examining the texts, it becomes clear that Agni Purāṇa Dhanurveda is uncategorized and unordered. Some verses reveal the absence of existing then-contemporary knowledge and others lead to skepticism on practicality. Thus, this Dhanurveda is likely to be a collection of archery science compiled together without editing, mainly to preserve the wisdom rather than to express it. On the contrary, Śārṅgadharapaddhati Dhanurveda is much more organized. With the user-oriented style and realistic, practical content, it can be assumed that this Dhanurveda is aimed to be the means of knowledge transfer than just a mere collection of texts and acts as a manual in archery lessons.

Downloads

Published

2016-07-01

How to Cite

วิทิตกูล เ., & ทัดแก้ว ช. (2016). ธนุรเวทฉบับอัคนิปุราณะและฉบับศารงคธรปัทธติ: ความต่างสะท้อนสถานภาพ. Journal of Letters, 45(2), 119–157. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jletters/article/view/89398