ศิลปะแห่งผ้า วรรณศิลป์แห่งรัก: ความสำคัญของผ้าในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน

Authors

  • ธานีรัตน์ จัตุทะศรี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ผ้า, วรรณศิลป์, ความรัก, ขุนช้างขุนแผน, textiles, literary techniques, love, Sepha Rueang Khun Chang Khun Phaen

Abstract

บทความนี้มุ่งศึกษาลักษณะและความสำคัญของผ้าที่สัมพันธ์กับความรักของตัวละครในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ฉบับหอพระสมุดฯ ผลการศึกษาพบว่า ผ้าในเสภาเรื่องนี้มีบทบาทเชื่อมโยงกับการนำเสนอความรักหลากหลายลักษณะ ได้แก่ ผ้าในฐานะสิ่งแทนตัวคนรัก ผ้าในฐานะสิ่งที่ช่วยเสริมเน้นและพัฒนาความรัก ผ้าในฐานะสิ่งกระตุ้นเตือนให้ระลึกถึงคนรักหรือเหตุการณ์รักในอดีต ผ้าในฐานะนัยสะท้อนเหตุการณ์รักที่กำลังเกิดขึ้นหรือจะเกิดขึ้น และผ้าในฐานะสิ่งสะท้อนมุมมองรักของตัวละคร ความสำคัญของผ้าในเสภาเรื่องนี้จึงแสดงให้เห็นบทบาทของประณีตศิลป์ในฐานะเป็นกลวิธีทางวรรณศิลป์ที่ช่วยนำเสนอความรักในวรรณคดีไทย

From the Art of Textiles to the Literary Techniques of Love: The Significance of Textiles in Sepha Rueang Khun Chang Khun Phaen

This paper aims to examine the significance of textiles related to characters’ love lives in Sepha Rueang Khun Chang Khun Phaen. The study finds that the textiles in the story have wide-ranging significance as regards love. The textiles are used as symbols of the beloved; to emphasize and develop feelings of love; to remind the character of his past love; to reflect and foreshadow love lives, and to be metaphors of love. The significance of textiles in Sepha Rueang Khun Chang Khun Phaen demonstrates the role of the minor arts as literary techniques to express various dimensions of love in Thai literature.

References

กรุณา เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา. (เรียบเรียง). (2534). สิ่งทอไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทเมจิกไลน์ จำกัด.

โคลงกวีโบราณและวรรณกรรมพระยาตรัง. (2506). พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายสฤษฎ์ เวคะวากยานนท์ ณ เมรุวัดไตรมิตรวิทยาราม 26 มิถุนายน 2506.

ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (2558). อ่านนิราศนรินทร์ ฉบับวิเคราะห์และถอดความ. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฎฐภัทร จันทวิช. (2545). ผ้าพิมพ์ลายโบราณในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ. (2513). ตำนานเสภา. ใน เสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน. ((1)-(52)). (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บรรณาคาร.

ไตรภูมิพระร่วง. (2504). (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.

ธีรพันธุ์ จันทร์เจริญ. (2547). มัดหมี่มัดใจ สายใยวัฒนธรรม เขมร ลาว ไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ เจมส์ เอช ดับเบิลยู ทอมป์สัน.

บันทึกเรื่องความรู้ต่างๆ เล่ม 1. (2521). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2556.

พุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระ. (2514). เรื่องอิเหนา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2532). ผ้าไทย. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.

สุกัญญา สุจฉายา. (2558). “ขุนช้างแปลงสาร” ตอนที่หายไปจากเสภาขุนช้าง-ขุนแผน ฉบับหอพระสมุดฯ. ใน 100 ปี วรรณคดีสโมสร. (200-210). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน. (2513). (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บรรณาคาร.

Published

2016-01-01

How to Cite

จัตุทะศรี ธ. (2016). ศิลปะแห่งผ้า วรรณศิลป์แห่งรัก: ความสำคัญของผ้าในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน. Journal of Letters, 45(1), 289–339. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jletters/article/view/65792