หม่อมเจ้าหญิงพิไลยเลขา ดิศกุล กับศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทย
Keywords:
หม่อมเจ้าหญิงพิไลยเลขา ดิศกุล, ศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทย, ศิลปินสมัครเล่น, ศิลปะหลักวิชา, งานจิตรกรรม, Her Serene Highness Princess Philai-lekha Diskul, modern art in Thailand, amateur artist, academic art, paintingAbstract
หม่อมเจ้าหญิงพิไลยเลขา ดิศกุล (2440-2528) คือชนชั้นนำสตรีไทยที่สนใจงานด้านศิลปะอย่างมากในช่วงชีวิตของท่าน บทความนี้เป็นการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ถึงการเริ่มเข้าสู่การศึกษาศิลปะ การสร้างสรรค์งานศิลปะ รูปแบบและอิทธิพลในงานศิลปะ ตลอดจนบทบาทของท่านที่มีต่อวงการศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทย บทความนี้เสนอว่า หม่อมเจ้าหญิงพิไลยเลขา ดิศกุล ทรงศึกษาศิลปะจากสถาปนิกและช่างศิลป์ชาวอิตาเลียนที่เข้ามาทำงานถวายพระมหากษัตริย์และราชการไทย ทั้งยังทรงมีครูคนสำคัญคือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และ นายคอร์ราโด เฟโรจี (Corrado Feroci) หรือศิลป พีระศรี ส่งผลให้ทรงสนใจในศิลปะหลักวิชาทั้งของศิลปะไทยแบบประเพณีและศิลปะตามแบบตะวันตก รวมถึงศิลปะสมัยใหม่ของตะวันตกด้วย ทรงนำความรู้จากศิลปะทั้งสองแนวทางนี้มาผสานกันเพื่อสร้างผลงานจิตรกรรมที่ปรากฏอยู่ 4 แนวทาง ประกอบด้วย ภาพวาดสถาปัตยกรรมหรือพระพุทธรูปในเชิงเพื่อการศึกษา ภาพหุ่นนิ่ง ภาพวาดทิวทัศน์ และภาพวาดบุคคลหรือภาพสัตว์ ในทศวรรษ 2490 ทรงมีส่วนร่วมในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ทั้งในบทบาทคณะกรรมการจัดงาน คณะกรรมการตัดสินผลงาน และศิลปินสมัครเล่นที่ส่งงานจิตรกรรมเข้าร่วมแสดงต่อเนื่องหลายปี นอกจากนี้ยังทรงได้รับเชิญให้ดำรงตำแหน่งประธาน จิตรกร ปฏิมากร สมาคม ซึ่งเป็นสมาคมวิชาชีพที่สำคัญของบุคลากรในวงการศิลปะขณะนั้นด้วย
Her Serene Highness Princess Philai-lekha Diskul and Modern Art in Thailand
Her Serene Highness Princess Philai-lekha Diskul (B.E.2440-2528) was a Thai elite lady who had great interest in work of arts. This research is a historical study during the Princess’s lifetime from art studying, art creating, pattern and influence of arts including her role in Modern Art of Thailand.
The study presents that Her Serene Highness Princess Philai-lekha Diskul had studied arts from Italian architect and artisan who served king and the government of Thailand. Her remarkable teachers were Prince Narisara Nuvadtivongs and Mr. Corrado Feroci or Silpa Bhirasri who inspired her to study Academic Art both in Thai Traditional Art; Western Art; and Western Modern Art. Her Serene Highness Princess Philai-lekha had integrated these two modes of art into creating 4 types of painting namely Architecture and Image of Buddha Painting for studying, Still-life Painting, Landscape Painting, and Portrait or Image of Animal Painting.
In the decade of B.E. 2490, she took part in National Art Exhibition by being the organizing committee and judgment committee. She had also one of amateur artists who used to send her paintings for art contest consecutively many years. In addition, she was once the President of The Society of Painters and Sculptors which was a professional association of artist at that time.
References
พิไลยเลขา ดิศกุล, หม่อมเจ้าหญิง. (2512). พิมพ์เนื่องในวันประสูติครบ 6 รอบ 8สิงหาคม 2512. กรุงเทพฯ: วัชรินทร์การพิมพ์.
สูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1. (2492). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
สูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 2 (2493). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
สูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 3 (2494). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
อนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าหญิงพิไลยเลขา ดิศกุล. (2528). กรุงเทพฯ: บัณฑิตการพิมพ์.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2505). สาส์นสมเด็จ เล่มที่ 19. กรุงเทพฯ: องค์การค้าคุรุสภา.
ดำรง วงศ์อุปราช. (2536). “ความเคลื่อนไหวของศิลปินและศิลปะในยุคของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี,” ใน วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับพิเศษ 100 ปี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี (กันยายน 2535-กุมภาพันธ์ 2536).
ดวงจิตร จิตรพงศ์, หม่อมเจ้า. (2528). “คำอธิบายสาส์นพิไลย,” ใน อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมเจ้าหญิงพิไลยเลขา ดิศกุล. กรุงเทพฯ: บัณฑิตการพิมพ์.
พูนพิศมัย ดิศกุล, หม่อมเจ้า. (2557). สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น (ฉบับรวมเล่ม). กรุงเทพฯ: ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ.
พิพัฒน์ พงศ์ระพีพร. (2536). “โรงเรียนประณีตศิลปกรรม โรงเรียนศิลปากร,” ใน รากเหง้ามหาวิทยาลัยศิลปากร, วิโชค มุกดามณี บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
น.ณ. ปากน้ำ (นามปากกา). (2539). จิตรกรไทยสมัครเล่นผู้ควรแก่การยกย่อง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.
สุดารา สุจฉายา. (2539). “หม่อมเจ้าหญิงพิไลยเลขา ดิศกุล จิตรกรในดวงใจ,” ใน จิตรกรไทยสมัครเล่นผู้ควรแก่การยกย่อง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.
สิทธิธรรม โรหิตะสุข. (2557). ประวัติศาสตร์การประกวดศิลปกรรมในประเทศไทย ตั้งแต่ทศวรรษ 2480.
สิทธิธรรม โรหิตะสุข. (2558). “การประกวดรูปเขียนเกี่ยวกับการทหารและการเกษตรกรรม การอุตสาหกรรม และทิวทัศน์งามตามธรรมชาติของประเทศไทยกับการเผยแพร่อุดมการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจของจอมพล ป.พิบูลสงคราม,” ใน วารสารประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ 40 (สิงหาคม 2558-กรกฏาคม 2559), หน้า 33-51.
ส.ศิวรักษ์ (นามปากกา). (2531). คันฉ่องส่องบุคคลร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ยุววิทยา.
วิโชค มุกดามณีและคณะ. (2539). ศิลปะรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1-8. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์.
ถึงทศวรรษ 2530. วิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Poshyananda, A. (1992). Modern Art in Thailand: Nineteenth and Twentieth Centuries. Singapore: Oxford University Press.
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright and plagiarism
Authors are responsible for obtaining permission to use copyrighted materials from copyright owners. Authors are responsible for observing requisite copyright law when quoting or reproducing copyrighted materials. Quotations and reproductions of content from other published sources must be accompanied by a reference and all sources should be clearly listed in the references section. Quotations and reproductions of content from external sources without due attribution could be considered a severe infringement of academic conduct and may constitute a legal offence under the Copyright Act of B.E. 2537. Any legal ramifications arising from the infringement of copyright regulations would be the sole responsibility of the author(s).