การเปรียบเทียบโครงสร้างความรู้ (Schema) และกลยุทธ์การเลือกหัวข้อสนทนา เมื่อพบกันเป็นครั้งแรกของผู้พูดชาวไทยกับผู้พูดชาวญี่ปุ่น
Keywords:
โครงสร้างความรู้, การสนทนา, บุคคลที่เพิ่งพบกันเป็นครั้งแรก, หัวข้อสนทนา, กลยุทธ์, schema, conversation, people meeting each other for the first time, topic of conversation, strategyAbstract
การสนทนากับบุคคลที่เพิ่งพบกันเป็นครั้งแรกมีความสำคัญ เพราะหากทั้งสองฝ่ายต่างมีความรู้สึกที่ดีต่อกันก็ย่อมเป็นหนทางในการสานสัมพันธ์ต่อไปในอนาคตได้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษาหาโครงสร้างความรู้หรือ Schema ที่ปรากฏในบทสนทนาของผู้ที่พบกันเป็นครั้งแรก โดยเปรียบเทียบระหว่างนักศึกษาชาวไทยกับชาวญี่ปุ่น เพศหญิง ใช้จำนวนกลุ่มตัวอย่างชาติละ 8 คู่ และเก็บเสียงสนทนาตามธรรมชาติ ผลการวิจัยพบว่า หัวข้อที่อยู่ในโครงสร้างความรู้ของนักศึกษาชาวไทยมี 9 หัวข้อ ขณะที่ของนักศึกษาชาวญี่ปุ่นมี 4 หัวข้อ แต่ถึงแม้นักศึกษาชาวญี่ปุ่นจะใช้หัวข้อสนทนาจำนวนน้อยกว่า แต่มีแนวโน้มที่จะพัฒนาเนื้อหาของแต่ละหัวข้อให้ลึกซึ้งขึ้นมากกว่า ตรงข้ามกับนักศึกษาไทยที่ใช้หัวข้อในการสนทนามากกว่า แต่เนื้อหาของแต่ละหัวข้อไม่ค่อยลึกและมักเปลี่ยนหัวข้อสนทนาไปเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยพบว่า นักศึกษาทั้งสองชาติมีลักษณะร่วมกันคือ มักเลือกสนทนาหัวข้อประเภท “การดำเนินชีวิตของนักศึกษา” “สังกัด” และ “จุดร่วม” ของทั้งสองฝ่าย แสดงให้เห็นว่าทั้งสองชาติมีโครงสร้างความรู้ในการเลือกหัวข้อสนทนาที่คล้ายคลึงกัน ส่วนกลยุทธ์การเลือกหัวข้อสนทนาในการวิจัย ครั้งนี้พบว่ามีการใช้ทั้งหมด 7 กลยุทธ์ “การยกถ้อยคำก่อนหน้าขึ้นมาเป็นหัวข้อสนทนา” เป็นกลยุทธ์ที่กลุ่มตัวอย่างทั้งสองชาติต่างก็ใช้มากที่สุด แต่กลยุทธ์ “การหยิบยกเรื่องราวที่เกิดขึ้นแทรกเข้ามาในขณะสนทนาขึ้นมาเป็นหัวข้อสนทนา” พบเฉพาะข้อมูลใน กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาชาวไทย ซึ่งการเปลี่ยนหัวข้อสนทนากะทันหันนี้อาจทำให้คู่สนทนาที่เป็นชาวญี่ปุ่นเข้าใจผิด เพราะคิดว่าอีกฝ่ายไม่ให้ความสำคัญกับตนอย่างจริงใจได้ ตรงข้ามกับชาวไทยที่ไม่ติดใจมากนัก เพราะมักเปลี่ยนหัวข้อสนทนาบ่อยครั้งอยู่แล้ว
Comparison of Schema and Strategies of Topic Selection between Thai and Japanese People for the Conversation with People Met for the First Time
The conversation between people who first meet each other is important because of both parties have good feelings towards each other, they can build further relationship. Therefore, the objective of this study is to explore the schema that appears in the conversation between people meeting each other for the first time by comparing the cases of Thai students and the cases of Japanese students. The total number of the participants of each nationality is 8 pairs. All participants are the female. The conversation of each pair is recorded without any adjustment. The findings from the study reveal that the schema of Thai participants is in 9 topics in total whilst the schema of the Japanese participants is in 4 topics in total. Even though Japanese participants’ discuss fewer topics than the Thai participants, they tend to develop the content of each topic to be more in-depth. On the contrary, Thai people discuss each topic briefly before moving to another topic. However, the participants of the two groups share something in common: they choose the topics that concern ‘students’ lives’, ‘students’ institutes’ and ‘things that both parties share in common’. This reflects that the participants of both nations have similar schemas. As for the strategies of the topic selection, it is discovered that 7 strategies are used, but the ‘use of the formerly discussed topics’ strategy is most used by the participants with either nationality. However, the ‘use of the emerging incident as the topic’ is found out to be popular among Thai participants. The sudden change of the discussed topic by Thai participants might make Japanese counterparts misunderstand that their Thai counterparts do not sincerely pay attention to them. However, Thai participants might not be much impacted by their counterparts’ topic changes because they always change topics of their conversations.
References
宇佐美まゆみ監修(2011)「BTSJによる日本語話し言葉コーパス(2011年版)」『人間の相互作用研究のための多言語会話コーパスの構築とその語用論的分析方法の開発』平成20-22年度科学研究費補助金基盤研究B(課題番号 20320072)研究成果
蔡諒福 (2011)「社会人初対面会話における話題選択に関する一考察―日台中のデータをもとに―」『大阪大学言語文化学』20号, pp.103-115.
蔡諒福 (2007)「初対面会話における個人情報の対照研究―日台大学生を対象に―」『間谷論集』1号, pp.131-147.
ジャロンウィットカジョーン,ウィパー・加藤好崇 (2010) 「タイ人日本語学習者―日本語母語話者の初対面接触場面における話題選択」『東海大学紀要 留学生教育センター』30号, pp. 17-27.
張瑜珊(2006) 「台日女子大生による初対面会話の対照分析―初対面会話フレームの提案を目指して―」『人間文化論叢』9号, pp.223-233.
中根千枝 (1967)『タテ社会の人間関係─単一社会の理論』講談社現代新書
樋口斉子(1997)「初対面会話での話題の展開」『日本人の談話行動のスクリプト・ストラテジーの研究とマルチメディア教材の試作』平成7年度~平成8年度 文部省科学研究費-基盤研究(C)(2)研究成果報告書pp.75-110.
三牧陽子(2013)『ポライトネスの談話分析―初対面コミュニケーションの姿としくみ―』くろしお
三牧陽子(1999)「初対面会話における話題選択スキーマとストラテジー一大学生会話の分析―」『日本語教育』103号, pp.49-58.
八代京子・世良時子(2010)『日本語教師のための異文化理解とコミュニケーションスキル』三修社
古田暁 監修、石井敏・岡部朗一・久米昭元(1987)『異文化コミュニケーション新・国際人への条件』有斐閣
Additional Files
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright and plagiarism
Authors are responsible for obtaining permission to use copyrighted materials from copyright owners. Authors are responsible for observing requisite copyright law when quoting or reproducing copyrighted materials. Quotations and reproductions of content from other published sources must be accompanied by a reference and all sources should be clearly listed in the references section. Quotations and reproductions of content from external sources without due attribution could be considered a severe infringement of academic conduct and may constitute a legal offence under the Copyright Act of B.E. 2537. Any legal ramifications arising from the infringement of copyright regulations would be the sole responsibility of the author(s).