โลกกำกวมในอาชญนิยาย: การรื้อสร้างคู่ตรงข้ามในวรรณกรรมเชอร์ล็อก โฮล์มส์

Authors

  • ทอแสง เชาว์ชุติ อาจารย์ประจำภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Abstract

อาชญนิยายมักถูกมองว่าไม่มีคุณค่าทางวรรณกรรมและไม่คู่ควรต่อการศึกษาอย่างจริงจัง ทั้งนี้เพราะวรรณกรรมประเภทนี้เป็นผลงานยอดนิยม ซึ่งมักถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมชั้นต่ำ ดังนั้นผู้อ่านส่วนมากจึงเชื่อว่าอาชญนิยายนำเสนอเนื้อหาที่เรียบง่ายและไม่ซับซ้อน กล่าวคือนำเสนอโลกที่แบ่งออกเป็นคู่ตรงข้ามอย่างชัดเจน บทความชิ้นนี้ต้องการเสนอว่าแท้ที่จริงแล้วอาชญนิยายมีความซับซ้อนในตัวเองและแฝงไปด้วยรายละเอียดที่ทำให้ผู้อ่านต้องตั้งคำถามกับตนเองว่า โลกที่ตัวบทนำเสนอนั้นเรียบง่ายและขาวดำอย่างแรกคิดจริงหรือไม่ ทั้งนี้โดยศึกษาประเด็นเรื่องจักรวรรดินิยมในเรื่องสั้นเรื่อง “นักฆ่ามหาโหด” และนวนิยายขนาดสั้นเรื่อง หมาปิศาจแห่งบาสเกอร์วิลส์ ของเซอร์ อาร์เธอร์ โคแนน ดอยล์ นักเขียนอาชญนิยายชื่อดัง

 

The Ambiguous World of Crime Fiction: Deconstructing Binary Oppositions in Sherlock Holmes Stories

It is widely believed that the genre of crime fiction does not merit serious academic study because it firmly belongs to popular, and therefore "low," culture. Implicit within this conviction is the notion that crime fiction lacks the complexity of "high" literature and that it is mired in simplistic binary oppositions. This article is an attempt to contest this popular view of crime fiction and to demonstrate that this literary genre is, in fact, replete with details that challenge the binary oppositions with which it is often associated. In order to do so, the article examines the theme of colonialism in the short story "The Adventure of the Speckled Band" and the novella The Hound of the Baskervilles by the renowned crime fiction writer Sir Arthur Conan Doyle.

How to Cite

เชาว์ชุติ ท. (2016). โลกกำกวมในอาชญนิยาย: การรื้อสร้างคู่ตรงข้ามในวรรณกรรมเชอร์ล็อก โฮล์มส์. Journal of Letters, 39(2), 235–254. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jletters/article/view/53215