กวียานุโลมสันสกฤต: กรณีศึกษารามกฤษณวิโลมกาวยะ

Authors

  • นาวิน วรรณเวช อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Abstract

กวียานุโลมหมายถึงการพลิกแพลงลักษณะทางภาษาในวรรณคดีตามรสนิยมของกวี  กวียานุโลมในวรรณคดีสันสกฤตตามตำราการประพันธ์สันสกฤตมีอยู่สองประการคือการแทนค่าตัวอักษร  [v]  กับ  [b]  และ  [ḍ]  กับ  [l]  และการใช้เครื่องหมายอนุสวาระและวิสรรคให้เป็นไปตามความต้องการของกวี  วรรณคดีเรื่องรามกฤษณวิโลมกาวยะเป็นวรรณคดีกลบทสันสกฤตที่เลือกนำมาศึกษาตามกรอบของกวียานุโลมในวรรณคดีสันสกฤตได้  ผลการศึกษาพบว่า  กวียานุโลมในวรรณคดีเรื่องนี้ปรากฏสองประการคือการกำหนดวิสรรคซึ่งปรากฏในตำราการประพันธ์  และการกำหนดเครื่องหมายอวครหะซึ่งเป็นขนบการประพันธ์จิตรกาวยะ  อาจกล่าวได้ว่า  กวีสันสกฤตมิได้นำกวียานุโลมที่มีอยู่มาสะท้อนตัวตนของกวี  ปรากฏการณ์นี้จึงแสดงให้เห็นลักษณะเฉพาะของกวียานุโลมสันสกฤต

 

Sanskrit Poetic License: A Case Study of Rāmakṛṣṇavilomakāvya

Poetic license refers to an inversion of language characteristics to suit a poet’s taste. Sanskrit poetic license, as indicated in the Sanskrit writing-poem textbook, is divided into two types: the representation of [v] with [b] and [ḍ] with [l] and the uses of Anusvara and Visarga according to the poet’s style. Rmakavilomakvya is an example of Sanskrit wordplay literature which can be selected to study the condition of Sanskrit poetic license. There appear two findings of poetic license in this literary setting:Visarga and Avagraha. The firstis allowed in Sanskrit poetics and the other is traditionally used in Sanskrit poetry. It can be said that a Sanskrit poet’s identity is not reflected through poetic license. This phenomenon, therefore, shows the identity of Sanskrit poetic license.

Downloads

How to Cite

วรรณเวช น. (2016). กวียานุโลมสันสกฤต: กรณีศึกษารามกฤษณวิโลมกาวยะ. Journal of Letters, 39(2), 216–234. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jletters/article/view/53214