บทพินิจ "อธรรม" ในเรื่องรามเกียรติ์ผ่านตัวละครทศกัณฐ์

Authors

  • ธิติ แจ่มขจรเกียรติ นิสิตปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรคาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Abstract

บทความนี้มุ่งศึกษาวิเคราะห์แนวคิด “อธรรม” ที่นำเสนอผ่านทศกัณฐ์ใน เรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 ตัวบทรามเกียรติ์ไทยที่มีความสมบูรณ์ที่สุด คำถามวิจ้ยของการศึกษาคือ คติธรรม “ธรรมะย่อมชนะอธรรม” หรือ “ความดีย่อมชนะความชั่ว” มีมิติอื่นที่ลุ่มลึกให้ศึกษาวิเคราะห์ต่อไปอีกหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปริบทของวรรณคดีไทยที่พุทธศาสนาเป็นอิทธิพลสำค้ญในการสร้างวรรณคดี

ผลการศึกษาพบว่ารามเกียรติ์ไทยได้รับอิทธิพลมาจากคติของทั้งพราหมณ์ ฮินดู และพุทธศาสนา ดังปรากฏในแนวคิด “อธรรม"ของทศกัณฐ์รามเกียรติ์ไทยได้นำเสนออดีตชาติของทศกัณฐ์เพื่อแสดงผลของอกุศลกรรมในอดีตอันมีผลต่อทศกัณฐ์ รูปพรรณสัณฐานที่ไม่งามของทศกัณฐ์แสดงถึงผลของอกุศลกรรมที่ทศกัณฐ์สร้าง และสั่งสมไว้ รูปพรรณสัณฐานสิบเศียรยี่สิบกรทำให้ทศก้ณฐ์ได้สัมผัสต่อสิ่งเย้ายวน กิเลส สาเหตุพฤติกรรม “อธรรม” ของทศกัณฐ์ล้วนมาจากความหลง ทศกัณเไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามสถานภาพของตน ความประพฤติของทศกัณฐ์เอื้อต่อการสร้าง และสังคมอกุศลกรรม การศึกษานี้ช่วยอธิบายให้เห็นภาพการสื่อสารสำคัญของเรื่องรามเกียรติ์อย่างมีประสิทธิภาพผ่านทศกัณฐ์ตัวละครฝ่ายอธรรมสำคัญของเรื่อง

 

“Adharma” as Represented by Thotsakan in the Thai Ramakien

This article is an attempt to examine the concept of “Adharma” in Ramakien represented through Thotsakan in the text of King Rama I, acknowledged as the most complete version of the Thai Ramakien.The hypothesis of this study is that “Adharma,” as represented through Thotsakan in the Thai Ramakien, is influenced by Buddhism, the most significant influence in Thai literature and Hinduism preserved from Indic Rama stories. Both Buddhist and Hindu concepts of Adharma harmoniously coexist in the character of Thai Thotsakan.The result of the study finds that Thai Ramakien is influenced by both Buddhism and Hinduism through the “Adharma” of Thotsakan. The Thai Ramakien presents Thotsakan’s previous life to illustrate how the fruits of bad deeds in the past affect Thotsakan. The text portrays Thotsakan’s grotesque appearance in order to exemplify his past evil deeds. His ten heads and twenty arms augment his sense-perception, which arouses his mind and instigates him to accumulate more evil deeds. Ignorance is the nucleus of Thotsakan’s Adharma. Thotsakan follows neither his duties as a virtuous king nor the responsibilities prescribed by his Brahman lineage and thus violates Dharma. “Dharma as duty” is an important concept of Hindu philosophy which the Thai Ramakien subtly preserves in the text. Considered in this light, Thotsakan in the Thai Ramakien is depicted as a complex and multi-dimensional character who is not ultimatelyatrocious. This research attempts to illustrate the profound and timeless theme of the Rama stories found in the Thai Ramakien: “Dharma always conquers Adharma”.

Downloads

How to Cite

แจ่มขจรเกียรติ ธ. (2016). บทพินิจ "อธรรม" ในเรื่องรามเกียรติ์ผ่านตัวละครทศกัณฐ์. Journal of Letters, 39(2), 1–57. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jletters/article/view/53209