ชื่อและนามสกุลกับการปรับตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ในอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

Authors

  • สรบุศย์ รุ่งโรจน์สุวรรณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

Keywords:

ชื่อ, นามสกุล, กลุ่มชาติพันธุ์, การปรับตัว, names, surnames, ethnicity, adaptation

Abstract

ชื่อและนามสกุลนับเป็นปราการด่านแรกของกลุ่มชาติพันธุ์ในการเป็นที่รู้จักของสังคม เพื่อปกปิดความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ หลีกเลี่ยงการถูกดูถูกเหยียดหยาม และรักษาผลประโยชน์ที่ควรได้รับในฐานะคนไทยคนหนึ่ง บทความวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาชื่อและนามสกุลของกลุ่มชาติพันธุ์ในอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ใน 3 ประเด็น คือ 1) ลักษณะของชื่อและนามสกุล 2) ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของชื่อและนามสกุล และ 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการดำรงอยู่หรือเปลี่ยนแปลงชื่อและนามสกุล ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาคือ ชื่อและนามสกุลของกลุ่มชาติพันธุ์ 11 กลุ่ม ในอำเภอเชียงแสน ผลการศึกษาพบว่า มีทั้งการใช้ชื่อและนามสกุลที่เป็นภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ตนเองและกลุ่มชาติพันธุ์อื่นรวมอยู่ด้วย และยังมีแนวโน้มของการใช้ชื่อภาษาบาลีสันสกฤตมากขึ้น ในแง่ของการเปลี่ยนแปลงพบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ม้ง ไทลื้อ เมี่ยน ลาว จีนฮ่อ อาข่า และไทใหญ่ยังคงรักษาขนบการตั้งชื่อไว้ได้เป็นส่วนมาก และยอมเปิดเผยความเป็นชาติพันธุ์ผ่านชื่อมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ในขณะที่ กลุ่มชาติพันธุ์พม่า ว้า และลัวะ เป็นกลุ่มที่เลือกใช้ชื่อที่ไม่ใช่ภาษาของกลุ่มตนเองเป็นส่วนใหญ่ แสดงให้เห็นถึงความพยายามปกปิดชาติพันธุ์ของตนต่อสาธารณะ โดยปัจจัยที่มีผลต่อการคงอยู่ของการตั้งชื่อและนามสกุลตามแบบกลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ 1) การรวมกลุ่มกันเป็นชุมชนขนาดใหญ่ และ 2) การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพภายในชุมชน ส่วนปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คือ 1) เรื่องวาทกรรม “คนชายขอบ” 2) ความรู้สึกสำนึกต่อความเป็นไทย 3) ปัญหาการสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ทางราชการ และ 4) การไม่ยึดถือขนบธรรมเนียมปฏิบัติแบบเดิม

 

Names and surnames in adaptation of ethnic groups in Chiang Saen district

Sorabud Rungrojsuwan

Names and surnames are used by ethnic groups as a mean to conceal their ethnicities in order to avoid racial discrimination and protect their rights as Thai citizens. The purpose of this study is to study three aspects of names and surnames used by ethnic groups in Chiang Saen district, Chiang Rai province: 1) characteristics of name and surname, 2) direction of name and surname changes, and 3) factors in maintaining or changing names and surnames. The data are names and surnames of 11 ethnic groups in Chiang Saen district. The study found that there are both names and surnames that are native to their respective ethnic groups, and those adopted from others. Furthermore, the study showed an increasing tendency to use Indic names. With respect to changes, the results show that the Hmong, Tai Lue, Mien, Lao, Haw, Akha and Shan ethnic groups, for the most part, still maintain their traditional way of naming. They are more willing to reveal their own ethnicity than members of other ethnic groups. In contrast, the Burmese, Wa, and Lua’ tend to use names adopted from other ethnic groups. This fact indicates an attempt to hide their own ethnicity. Lastly, the factors that currently affect maintaining names and surnames in ethnic languages are 1) size of community, 2) livelihood in the community. Factors that motivate name changes are 1) discourse on “marginal people” 2) awareness of being a Thai citizen, 3) problems in communicating with government officials, and 4) abandonment of traditional practices.

Downloads

How to Cite

รุ่งโรจน์สุวรรณ ส. (2016). ชื่อและนามสกุลกับการปรับตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ในอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย. Journal of Letters, 40(1), 132–171. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jletters/article/view/51398