การกลายเป็นคำไวยากรณ์ไปสู่คำบ่งชี้ทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ของคำว่า เอา ในภาษาไทย

Authors

  • จิรัชย์ หิรัญรัศ

Keywords:

การกลายเป็นคำไวยากรณ์, คำกริยา เอา, คำบ่งชี้ทางวัจนปฏิบัติศาสตร์, ความหมายทางวัจนปฏิบัติศาสตร์คำลงท้าย, ดัชนีปริจเฉท, grammaticalization, verb _aw, pragmatic marker, discourse marker

Abstract

บทความชิ้นนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาถึงกระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ที่ทำให้คำกริยา เอา ในภาษาไทยพัฒนาจากคำกริยากลายมาเป็นคำบ่งชื้ทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ ซึ่งในฐานะของคำบ่งชี้ทางวัจนปฏิบัติศาสตร์นั้น คำว่า เอา ทำหน้าที่ในการเพิ่มมโนทัศน์ของ “การเลือก” เข้าไปสู่ความหมายโดยรวมของประโยค อีกทั้งยังทำหน้าที่ในระดับปริจเฉทแสดงการดึงผลัดในการสนทนามาสู่ตัวผู้พูดด้วย เส้นทางการกลายเป็นคำไวยากรณ์ของ เอา ในงานชิ้นนี้แบ่งออกเป็นสี่ขั้นตอนโดยอาศัยเกณฑ์การเปลี่ยนแปลงในด้านชนิดของคำ ตำแหน่งในประโยค และประเภทของความหมายของ เอา โดยในขั้นตอนที่หนึ่งนั้น คำว่า เอา มีสถานะเป็นคำกริยา ปรากฏในตำแหน่งของคำกริยา และแสดงความหมายประจำคำหรือความหมายทางไวยากรณ์ ในขั้นตอนที่สองนั้น คำว่า เอา ยังคงสถานะของคำกริยาแต่เปลี่ยนไปปรากฏหลังภาคแสดงแทน ในส่วนของขั้นตอนที่สาม คำว่า เอา เปลี่ยนไปเป็นคำลงท้ายที่ปรากฏท้ายประโยคและแสดงความหมายทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ และในขั้นตอนสุดท้าย คำว่า เอา กลายไปเป็นดัชนีปริจเฉทซึ่งปรากฏด้านหน้าของประโยคแทน กระบวนการทางปริชานที่มีบทบาทในกระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ของคำว่า เอา ครั้งนี้ ได้แก่การอุปลักษณ์และการนามนัย ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนจากคำกริยาไปเป็นคำลงท้ายและดัชนีปริจเฉทตามลำดับ

 

Grammaticalization of the Verb ʔaw into Pragmatic Markers in Thai

Jirat Hiranras

This paper examines the development of the verb aw in Thai from verb into pragmatic markers through the process of grammaticalization. As pragmatic markers, aw functions by adding the concept of “choosing” into the whole meaning of a sentence, and also functions on a discourse level to give a turn to the speaker of the conversion. The grammaticalization path of aw in this study is divided into four stages regarding the changes in word classes, positions in the sentence, and types of meaning. In the first stage, aw is a verb which occurs in a verbal position expressing lexical and grammatical meaning. In the second stage, aw is used in a post-predicated position but still functions as a verb. In the third stage, aw becomes a sentence particle that occurs in a clause-final position and starts to change its type of meaning into pragmatic meaning. In the last stage, aw is used as a discourse marker that occurs in front of a whole sentence. Two cognitive processes that play an important role in this grammaticalization path are metaphor and metonymy, which cause aw to become a sentence particle and discourse marker respectively.

Downloads

How to Cite

หิรัญรัศ จ. (2016). การกลายเป็นคำไวยากรณ์ไปสู่คำบ่งชี้ทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ของคำว่า เอา ในภาษาไทย. Journal of Letters, 40(1), 100–131. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jletters/article/view/51397