ระบบคำภาษาไทยในคลังคำในใจ ของผู้เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่ 2: ศึกษากรณีนักศึกษาลาวและนักศึกษาเกาหลี

Authors

  • วิชาติ บูรณะประเสริฐสุข อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Keywords:

คลังคำในใจ, ระบบคำภาษาไทย, ผู้เรียนภาษาที่สอง, ชาวลาว, ชาวเกาหลี, mental lexicon, Thai lexical system, second language learners, Laos, Korean

Abstract

บทความนี้นำเสนอผลการศึกษาการจัดระบบคำในคลังคำของชาวลาวและชาวเกาหลีซึ่งเรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศเปรียบเทียบกับผลการศึกษาการจัดระบบคำในคลังคำในใจของคนไทย โดยใช้แบบทดสอบการเชื่อมโยงคำในการศึกษาการจัดระบบคำในคลังคำของกลุ่มตัวอย่าง คำกระตุ้น คือ คำไทยจำนวน 90 คำ ซึ่งนำมาจากรายการคำของวิชาติ (2550) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคำที่นำไปกระตุ้นกับคำตอบสนองได้ใช้เกณฑ์ของวิชาติ (2550) ซึ่งได้เสนอแบบจำลองการเชื่อมโยงคำที่ได้จากการศึกษาภาษาไทยที่แตกต่างจากแบบจำลองที่มีผู้เสนอไว้ก่อนหน้านี้

ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาชาวเกาหลีและชาวลาวมีแนวโน้มตอบสนองต่อคำที่นำไปกระตุ้นโดยเชื่อมโยงคำแบบอาศัยกระบวนการเปรียบเทียบ โดยพบว่านักศึกษาเกาหลีส่วนใหญ่เชื่อมโยงกับคำที่มีความหมายตรงข้ามในขณะที่นักศึกษาลาวส่วนใหญ่เชื่อมโยงกับคำพ้องความหมาย ส่วนนักเรียนไทยส่วนใหญ่ตอบสนองต่อคำกระตุ้นโดยเชื่อมโยงกับคำแสดงข้อมูลทางความหมายและเชื่อมโยงกับบริบท

จากข้อค้นพบดังกล่าว สามารถสรุปได้ดังนี้ 1) รูปแบบของระบบคำภาษาไทยในคลังคำในใจของผู้เรียนภาษาที่ 2 แตกต่างจากเจ้าของภาษา 2) ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาที่ 1 และภาษาที่ 2 มีผลต่อการจัดระบบคำภาษาที่สองในคลังคำในใจของผู้เรียน ในการศึกษาครั้งนี้พบว่า ผู้ที่มีภาษาแม่เป็นภาษาลาวซึ่งมีความใกล้เคียงกับภาษาไทยมีแนวโน้มที่จะตอบสนองกับคำพ้องความหมาย ส่วนนักศึกษาชาวเกาหลีซึ่งมีภาษาแม่ต่างจากภาษาไทยมักตอบสนองกับคำตรงกันข้าม 3) การเชื่อมโยงโดยอาศัยกระบวนการเปรียบเทียบเป็นการเชื่อมโยงพื้นฐานการพัฒนาการจัดระบบคำในคลังคำในใจของผู้เรียนโดยจะพัฒนาโดยเปลี่ยนไปสู่การเชื่อมโยงรูปแบบอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมโยงกับคำแสดงข้อมูลทางความหมาย

 

The Thai Lexical System of 2nd Language Learners: A Case Study of Laotian and Korean Students

Wichat Booranaprasertsook

Lecturer, Department of Thai, Faculty of Humanities, Kasetsart University

This paper presents the results of a study that explored the mental organization of the lexical system of Laotian and Korean students learning Thai as a foreign language compared with that of Thai students. A word association test (WAT), consisting of  90 Thai word prompts taken from Booranaprasertsook’s (2007) list, was used to explore the organization of words in the subjects’ mental lexicon. The relationship between stimuli and responses was analyzed using the criteria of Booranaprasertsook (2007), who proposes a model of the Thai lexical system which is different from other models previously proposed by Western psycholinguists.

The results show that the responses of Korean and Laotian students reveal a high proportion of comparison association; for most Korean students, the association is one of antonymy, while for most Laotian students, it is one of synonymy. The responses from native Thai students reveal a high proportion of semantic information association and contextual association.

Based on these findings, it can be concluded that 1) lexical system patterns in the mental lexicon of L2 learners are different from those of native speakers; 2) similarities between L1 and L2 may affect lexical organization in the L2 lexicon. In this study, Laotian students, whose L1 is close to the L2 (Thai), prefer responding with synonymy while Korean students, whose L1 is different from the L2 (Thai), prefer responding with antonymy; 3) comparison association is a common association and the development of a mental lexicon may transfer from comparison association to other types of association, especially semantic information association.

Downloads

How to Cite

บูรณะประเสริฐสุข ว. (2016). ระบบคำภาษาไทยในคลังคำในใจ ของผู้เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่ 2: ศึกษากรณีนักศึกษาลาวและนักศึกษาเกาหลี. Journal of Letters, 41(1), 123–150. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jletters/article/view/51169