ผลกระทบจากการยึดครองของญี่ปุ่นต่อสังคมชวา : 1942-1945

Authors

  • ดินาร์ บุญธรรม อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ผลกระทบ, การยึดครองของญี่ปุ่น, สังคมชวา, Impact, Japanese Occupation, Java

Abstract

บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ในการอธิบายผลกระทบของการที่กองทัพญี่ปุ่นยึดครองเกาะชวา อันมีสถานะเป็นศูนย์กลางของอาณานิคมอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ ในระหว่างปี คริสต์ศักราช 1942-1945 อันเป็นช่วงระยะเวลา 3 ปีท้ายของสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้เขียนได้ แบ่งการอธิบายความในบทความนี้ออกเป็น 6 ประเด็น เริ่มต้นที่การอภิปรายถึงสถานะและ ความสำคัญของเกาะชวาต่ออาณานิคมอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ จากนั้นจะได้ วิเคราะห์ภาพรวมของสังคมชวาในช่วงสมัยอาณานิคมไปจนถึงช่วงก่อนการเข้ายึดครองของ กองทัพญี่ปุ่น ซึ่งเนื้อหาทั้งสองประเด็นแรกนี้มีความสำคัญในอันที่จะปูพื้นฐานความเข้าใจสังคม ชวาให้แก่ผู้อ่าน หลังจากนั้นในประเด็นที่สามผู้วิจัยจะอภิปรายถึงพัฒนาการของการเข้ายึดครอง หมู่เกาะอินโดนีเซียและเกาะชวาของกองทัพญี่ปุ่น ซึ่งในประเด็นที่สามนี้จะเริ่มด้วยการศึกษา เหตุปัจจัยพื้นฐานของการขยายแสนยานุภาพของกองทัพญี่ปุ่นเข้ามาสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ อันเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่ญี่ปุ่นจะสถาปนา “วงศ์ไพบูลย์แห่งมหาเอเซีย บูรพา” เมื่อพิจารณาเหตุปัจจัยพื้นฐานของการขยายตัวของกองทัพญี่ปุ่นแล้วจะพิจารณาการ จัดแบ่งการปกครองหมู่เกาะอินโดนีเซีย การจัดการกับรัฐบาลอาณานิคมอินเดียตะวันออกของ เนเธอร์แลนด์ และการเข้าไปเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคนพื้นเมืองชาวชวาของกองทัพญี่ปุ่น ไม่ว่าจะ เป็นคนพื้นเมืองในสังคมชั้นสูง คนพื้นเมืองที่เป็นแนวร่วมของขบวนการชาตินิยมกลุ่มต่างๆ หรือแม้แต่พลเมืองชวาทั่วไป ไม่เว้นแม้แต่บุคลากรของศาสนาอิสลาม ประเด็นที่สี่ของบทความนี้จะ วิเคราะห์อิทธิพลของกองทัพญี่ปุ่นต่อขบวนการชาตินิยมในเกาะชวา ซึ่งพบว่ากองทัพญี่ปุ่นมี บทบาทโดยตรงในการกระตุ้นให้ขบวนการชาตินิยมในชวามีบทบาทที่เด่นชัดขึ้น โดยเฉพาะการ จัดตั้งรัฐบาลพื้นเมืองชวาขึ้นมาแทนที่รัฐบาลอาณานิคมอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ ต่อ ด้วยประเด็นที่ห้าคือผลกระทบของการยึดครองเกาะชวาของกองทัพญี่ปุ่นต่อสังคมคนพื้นเมือง ในเกาะชวา และประเด็นที่หกซึ่งเป็นประเด็นสุดท้ายคือผลกระทบทางวัฒนธรรมในสังคมชวา ภายใต้การยึดครองของกองทัพญี่ปุ่น

ระยะเวลา 3 ปีที่กองทัพญี่ปุ่นยึดครองเกาะชวาอยู่นั้นส่งผลกระทบต่อผู้คนทุกระดับชั้นในสังคม ชวา ตั้งแต่ผู้นำระดับสูงในสังคมซึ่งเคยดำรงตำแหน่งข้าราชการในรัฐบาลอาณานิคมของ เนเธอร์แลนด์ กลุ่มคนซึ่งเป็นแนวร่วมของขบวนการชาตินิยมอินโดนีเซีย หรือแม้แต่ผู้คน พลเมืองทั่วไปในชวา ที่กองทัพญี่ปุ่นพยายามใช้ประโยชน์จากผู้คนกลุ่มต่างๆในสังคมชวาเหล่านี้ ในฐานะบุคลากรและแนวร่วมและพยายามกระตุ้นให้ชาวชวาเหล่านี้ตระหนักถึงความสำคัญของ เอกราชของอาณานิคมหมู่เกาะอินโดนีเซียภายใต้การชี้นำของญี่ปุ่น

 

The Impact of Japanese Occupation in Java, 1942-1945

Dinar Boontharm

Lecturer, Department of History, Chulalongkorn University

The aim of this article is to discuss the impact of the Japanese occupation in Java between 1942-1945. There are six points to be discussed in this article, starting from the discourse on the significance of the island of Java to the Netherlands’ East Indies. The second point to be mentioned is the characteristics of Javanese society during the colonial period until the time of the Japanese Occupation. These two points form the background for the readers who are not familiar with Javanese society. The third point deals with the steps of Japanese military expansion in the Indonesian archipelago, followed by the impact of the occupation on the Indonesian nationalists. The fifth point is the discussion on the impact of the occupation on the ordinary Javanese people. The impact of the occupation on Javanese culture will be the final point handled in this article. Nearly the end of the occupation it appears that the Japanese military administration on Java took steps in facilitating the ultimate success of the nationalist revolution in Indonesia. This article also talks about the Japanese policies during the early months of the occupation of Java, the center of Indonesian political life then and now. It shows that the fate of Indonesia would have been far different had Japan continued victorious in the war.

Downloads

How to Cite

บุญธรรม ด. (2016). ผลกระทบจากการยึดครองของญี่ปุ่นต่อสังคมชวา : 1942-1945. Journal of Letters, 41(2), 155–196. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jletters/article/view/51142