อัลเบิร์ต สเปียร์: สถาปัตยกรรม ศิลปะ ปรัชญา และนาซี ในอาณาจักรไรช์ที่ 3
Keywords:
อัลเบิร์ต สเปียร์, สถาปัตยกรรม, ศิลปะ, ปรัชญา, นาซี, Albert Speer, Architecture, Art, Philosophy, NaziAbstract
อัลเบิร์ต สเปียร์ (ค.ศ. 1905-1981) เป็นสถาปนิกคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของของอาณาจักรไรช์ที่ 3 เขาออกแบบงานสถาปัตยกรรมสำคัญจำนวนมาก เช่น แท่นเวทีขนาดใหญ่ที่สนามเซปเปลิน เมืองนูเร็มเบิร์ก ค.ศ. 1934 ศาลาเยอรมันที่งานนิทรรศการนานาชาติที่เมืองปารีส ค.ศ. 1937 ตึกสำนักงานเลขาธิการแห่งอาณาจักรไรช์ กรุงเบอร์ลิน ค.ศ. 1938-39 สนามกีฬาเยอรมัน ค.ศ. 1937-44 และ เมืองหลวงโลก เยอรมาเนีย ค.ศ. 1938-39 เป็นต้น รวมทั้งยังออกแบบการ สวนสนามที่ยิ่งใหญ่ประจำปีของพรรคนาซีที่เมืองนูเร็มเบิร์กตั้งแต่ ค.ศ. 1934 เป็นต้นมา ผลงานเหล่านี้มีความสำคัญยิ่งในการสร้างเสริมอำนาจของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ พรรคนาซี ความ เกรียงไกรของอาณาจักรไรช์ที่ 3 และหล่อหลอมชาวเยอรมันให้มีความรู้สึกภาคภูมิใจใน อาณาจักรเยอรมันที่ยิ่งใหญ่ หลังจากความพ่ายแพ้ในสงครามครั้งใหญ่เมื่อ ค.ศ. 1918
สถาปัตยกรรมของสเปียร์ส่วนใหญ่มีลักษณะโดดเด่นที่ขนาดใหญ่โตมหึมา การใช้หินธรรมชาติใน การก่อสร้าง โดยเฉพาะหินอ่อนและหินแกรนิต การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ อาทิ การใช้แสงไฟฟ้า และภาพถ่าย การนำศิลปกรรมแขนงต่างๆ มาใช้ จิตรกรรม ประติมากรรม รวมทั้งกรอบ ธง เพื่อสร้างผลที่น่าประทับใจและมีมนตร์ขลัง อันสะท้อนอำนาจของท่านผู้นำและพรรคนาซี จุดเด่นที่สุดของเขาอยู่ที่การละทิ้งสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ แล้วย้อนกลับไปหาศิลปกรรมคลาสสิก นีโอ คลาสสิก บาโรค และปรัชญาของทฤษฎีของคุณค่าของซากปรักหักพัง ตามแบบความ ยิ่งใหญ่และเกรียงไกรของจักรวรรดิโรมันโบราณ เพื่อส่งผ่านสุนทรียะสิ่งก่อสร้างที่เป็นอนุสรณ์ และความเป็นนิรันดรให้แก่คนรุ่นหลัง ผลงานของเขาจึงเป็นแบบอย่างของสถาปัตยกรรมนาซี ที่ ทำหน้าที่เป็นเวทีของพรรคและประชาชน เป็นสัญลักษณ์ของลัทธินาซี เป็นสถาปัตยกรรมเพื่อ การสั่งสอนบทเรียน และเป็นพิธีกรรมและศาสนาสำหรับชาวเยอรมันตลอดระยะเวลา 22 ปี ภายใต้การปกครองของพรรคนาซี
Albert Speer: Architecture, Art, Philosophy and NAZI During the Third Reich
Suvimol Roongcharoen
Assistant Professor, Department of History, Chulalongkorn University
Albert Speer (1905-1981) was the most eminent architect of the Third Reich. He designed several major monuments, for instance, the Zeppelintribune at the Zeppelinfeld in Nuremberg (1934), the German Pavilion at the International Exposition in Paris (1937), the Reich Chancellery in Berlin (1938-9), the German Stadium (1937-44), the world capital Germania (1938- 1944) and the decoration for the spectacular annual NAZI Party Rally since 1934 in Nuremberg to promote the images and power of Adolf Hitler, the NAZI Party, the majesty of the Third Reich and the German pride for the Greater Germany after the defeat of the Great War in 1918.
Speer’s main architectural projects were huge scale monumental buildings. He combined the use of natural stone, marble and granite in particular with modern technology such as artificial lights and photos, as well as with all kinds of art, for instance, paintings, sculptures, including the use of frames and banners, to build impressive and dramatic effects and to reflect the power of the Führer and the NAZI. His most prominent idea was the rejection of modern architectural style and the acceptance of Classicism, Neo Classicism and Baroque and the philosophy of the theory of ruin–value, comparable to the grandeur and glory of the ancient Roman Empire, in order to transform the aesthetic, monumental architecture and eternity to posterity. His works were prime examples of NAZI architecture which emphasized the four functions, namely, architecture as a stage for the party and community events, architecture as a symbol of the NAZI, a didactic architecture and a ritual and religion for the German, during the 22 years of the NAZI regime.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright and plagiarism
Authors are responsible for obtaining permission to use copyrighted materials from copyright owners. Authors are responsible for observing requisite copyright law when quoting or reproducing copyrighted materials. Quotations and reproductions of content from other published sources must be accompanied by a reference and all sources should be clearly listed in the references section. Quotations and reproductions of content from external sources without due attribution could be considered a severe infringement of academic conduct and may constitute a legal offence under the Copyright Act of B.E. 2537. Any legal ramifications arising from the infringement of copyright regulations would be the sole responsibility of the author(s).