เลือนราง พราง-เผย หลอกหลอน: เรื่องเล่าบาดแผลของเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว

Authors

  • กรองกาญจน์ อัชฌายะสุนทร นิสิตปริญญาโท ภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

เรื่องเล่าบาดแผล, ความรุนแรงภายในครอบครัวต่อผู้หญิง, บาดแผลทางใจ, ความเงียบและเสียง, trauma narratives, domestic violence against women, psychological trauma, silence and voice

Abstract

บาดแผลทางใจเกิดจากเหตุการณ์รุนแรงที่ไม่คาดคิดซึ่งส่งผลกระทบต่อจิตใจและแสดงอาการผ่านร่างกายของผู้ประสบเหตุ ด้วยเหตุนี้ ในการศึกษาเรื่องเล่าบาดแผลจึงต้องตีความอวัจนภาษาควบคู่ไปกับวัจนภาษา บทความเรื่องนี้ศึกษาเรื่องเล่าบาดแผลที่เกิดจากความรุนแรงทางเพศในครอบครัวซึ่งส่งผลกระทบต่อจิตใจของตัวละครเอกหญิงในบริบทของสังคมอิตาเลียน ในนวนิยายเรื่อง La Lunga Vita di Marianna Ucrìa เรื่อง Voci และเรื่อง Bagheria ของดาชา มาราอินี (Dacia Maraini) แม้ว่าบริบทของชนชั้น ยุคสมัย และวัฒนธรรมในตัวบทวรรณกรรมทั้งสามเรื่องจะแตกต่างกัน แต่อุดมการณ์ปิตาธิปไตยที่ครอบงำสังคมอิตาเลียนก็ทำให้เกิดความรุนแรงทางเพศในครอบครัวได้เช่นเดียวกัน ผู้ประพันธ์นำเสนอบาดแผลดังกล่าวผ่านความเงียบและเสียง ได้แก่ การสื่อสารที่ไร้เสียงของมาริอันนาใน La Lunga Vita di Marianna Ucrìa  การเล่านิทานที่ต้องตีความสัญลักษณ์ของอันเจลาใน Voci และการเล่าเหตุการณ์บาดแผลซ้ำๆของผู้เล่าเรื่องใน Bagheria ด้วยเหตุที่บาดแผลทางใจมีความขัดแย้งระหว่างความต้องการที่จะเก็บงำกับความปรารถนาที่จะเปิดเผยเหตุการณ์บาดแผล ดังนั้นบาดแผลของความรุนแรงทางเพศในครอบครัวจึงซับซ้อนด้วยลักษณะของบาดแผลทางใจดังที่กล่าวไปแล้วและด้วยสายสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว การอ่านและตีความเรื่องเล่าบาดแผลโดยไม่ละเลยอารมณ์ความรู้สึกของผู้ประสบเหตุ รวมทั้งใส่ใจบริบททางสังคมและวัฒนธรรม นอกจากจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องเล่าบาดแผลได้ลุ่มลึกมากขึ้นแล้ว ยังช่วยขยายมุมมองอื่นๆ อาทิ การแสดงให้เห็นความพยายามของผู้หญิงในการส่งเสียงเงียบของตนออกมาเพื่อต่อรองความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างเพศชายและเพศหญิง และเพื่อต่อต้านการกดขี่ของอุดมการณ์ชายเป็นใหญ่

 

Shadowiness, Concealing-Revealing, Haunting: Trauma Narratives of Domestic Violence Victims

Krongkarn Atchayasoontorn

 MA student, Department of Comparative Literature, Chulalongkorn University

Psychological trauma is caused by unexpected violent events that affect the mind of traumatized people and its impact is shown through their physical expression; therefore, nonverbal language must be interpreted along with verbal language to understand trauma narratives. This article studies trauma narratives caused by domestic sexual violence that affects female protagonists’ minds, in the context of Italian society, in La Lunga Vita di Marianna Ucrìa, Voci and Bagheria, novels by Dacia Maraini. Although the context of class, era, and culture in these three literary works is different, the patriarchal ideology that dominates Italian society has caused the same domestic sexual violence. The author represents the aforementioned trauma through silence and voice i.e. Marianna’s voiceless communication in La Lunga Vita di Marianna Ucrìa, Angela’s telling of symbolic-interpretative fables in Voci and the narrator’s telling of repetitive traumatic events in Bagheria. Since psychological trauma creates a conflict between the will to conceal and the will to proclaim the traumatic events, the trauma of domestic sexual violence becomes complicated due to its aforementioned characteristics and the family bond. Reading and interpreting trauma narratives without ignoring the sufferers’ emotions as well as by paying attention to their social and cultural context not only help readers understand the trauma narratives more deeply but also widens other aspects such as women’s efforts to raise their oppressed voices in order to negotiate power relations between males and females and to resist the oppression of patriarchal ideology.

Downloads

How to Cite

อัชฌายะสุนทร ก. (2016). เลือนราง พราง-เผย หลอกหลอน: เรื่องเล่าบาดแผลของเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว. Journal of Letters, 42(1), 107–136. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jletters/article/view/51110