หลอกหลอนโดยฮอลลีวูด: ภาพยนตร์ฮ่องกงนัวร์ สยองขวัญ และ คนมหากาฬใหญ่ทะลุโลก

Authors

  • จีนา มาร์เชตตี ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ มหาวิทยาลัยฮ่องกง

Keywords:

ภาพยนตร์ฮ่องกง, สยองขวัญ, นัวร์, กรรม, การหลอกหลอน, Hong Kong films, horror, noir, karma, haunting

Abstract

ตู้ฉีฟง (Johnnie To) และเหว่ยเจียฮุย (Wai Ka-fai) กำกับภาพยนตร์เรื่อง คนมหากาฬ ใหญ่ทะลุโลก (Running on Karma) ในปี 2003 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ฮ่องกงกำลังถูกหลอกหลอนจากไข้หวัดมรณะ (SARS) และความวิตกกังวลต่อความเป็นไปได้ที่อาจต้องดำเนินชีวิตภายใต้ข้อบังคับการต่อต้านการชุมนุมของมาตรา 23 ทั้งนี้ ภาพยนตร์ฮ่องกงประสบภาวะตกต่ำมาเป็นเวลาหลายปี รวมทั้งถูกแซงหน้าจากภาพยนตร์ฮอลลีวูดที่มีศักยภาพเชิงสร้างสรรค์และเป็นคู่แข่งทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาคเอเชีย อย่างไรก็ตาม นักสร้างภาพยนตร์อย่างตู้ฉีฟงและเหว่ยเจียฮุยมิได้โอนเอียงตามกระแสภาพยนตร์จีนแผ่นใหญ่หรือฮอลลีวูด หากแต่เลือกผสมผสานเข้าด้วยกันจนกลายเป็นภาพยนตร์แฟนตาซีที่สามารถท้าทายภาพยนตร์ทั้งสองกระแส พวกเขาตัดสินใจให้เนื้อเรื่องมีความเกี่ยวพันกับอดีตพระสงฆ์จากจีนแผ่นดินใหญ่ที่ผันตัวมาเป็นนักเต้นระบำเปลื้องผ้า (แสดงโดย หลิวเต๋อหัว (Andy Lau) ในชุดนักกล้าม) ผู้ซึ่งสามารถ “เห็น” อดีตชาติของบรรดาผู้คนที่เขาผ่านพบ และกลายมาเป็นคนคอยช่วยเหลือตำรวจสาวชาวฮ่องกง หลี่เฟิงยี่ (แสดงโดย จางป๋อจือ (Cecilia Cheung)) ผู้ทุกข์ทรมานจาก “เคราะห์กรรม” ในอดีตชาติที่เธอเคยเป็นทหารญี่ปุ่นในช่วงการยึดครองแผ่นดินจีน อย่างไรก็ตามแม้กองตรวจพิจารณาของสาธารณรัฐประชาชนจีนไม่พอใจเนื้อหาเกี่ยวกับผีซึ่งถูกตีตราว่าเป็นเรื่อง “งมงาย” แต่ คนมหากาฬใหญ่ทะลุโลก ก็เลือกขัดขืนด้วยการผนวกความหลอกหลอนทางภาพยนตร์บู๊แฟนตาซีที่ได้แรงบันดาลใจจากพุทธศาสนา และการผสมผสานแนวภาพยนตร์ สยองขวัญ นัวร์ และโรแมนติกค็อมเมดี้เข้าไปในภาพยนตร์ เพื่อเผชิญหน้ากับปัญหาสังคมที่เกี่ยวพันกับวิกฤตใน ค.ศ. 2003 ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

การให้น้ำหนักค่าต่างแสงและเงาในฉากแสดงให้เห็นพื้นที่เมืองของฮ่องกงปรากฏในความมืดซึ่งถูกขับเน้นด้วยแสงนีออนจากป้ายไฟของบรรดาสถานเริงรมย์ รวมทั้งแสงไฟที่สาดส่องจากรถตำรวจ ส่วนรอบนอกของเมืองมีลักษณะคล้ายพื้นที่แห่งความฝันที่ถูกความทรงจำอันหม่นหมองพรากความสว่างไสวยามกลางวัน ภาพต่างๆที่ปรากฏมีลักษณะเหมือน “หลุดออกมาจากอดีต” เช่นเดียวกับแก่นเรื่องการตามสนองของกรรมและขนบภาพยนตร์นัวร์ที่ตัวละครต้องแบกรับภาระทางประวัติศาสตร์ (ไม่ว่าในเชิงสังคม วัฒนธรรม การเมือง หรือโดยส่วนตัวก็ตาม) ด้วยเหตุนี้ แม้ภาพยนตร์ คนมหากาฬใหญ่ทะลุโลก จะใช้สุนทรียศาสตร์ตามกระแสหลักทั่วโลก แต่กลับก้าวข้ามข้อจำกัดของภาพยนตร์ฮอลลีวูดด้วยการชูประเด็นความสูญเสีย การทรยศหักหลัง ชะตากรรมที่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า ความแปลกแยก และความสิ้นหวังเชิงอัตถิภาวะนิยม ซึ่งเป็นการท้าทายขอบเขตของการยึดติดกับภาพยนตร์ประเภทใดประเภทหนึ่ง รวมทั้งอภิปรายประเด็นการหลอกหลอนฮ่องกงในช่วงเวลาอันเปราะบางที่สุดในประวัติศาสตร์ที่เพิ่งผ่านพ้น ดังนั้น บทความนี้จึงศึกษาวิเคราะห์เทคนิควิธีที่ คนมหากาฬใหญ่ทะลุโลก ใช้ในการหลอกหลอน (และถูกหลอกหลอนโดย) ตำแหน่งทางภูมิทัศน์เชิงการเมืองของฮ่องกงและสุนทรียศาสตร์ของภาพยนตร์ระดับโลก

 

Haunted by Hollywood:  Hong Kong Noir, Horror, and RUNNING ON KARMA

Gina Marchetti

Professor, Department of Comparative Literature, The University of Hong Kong

In 2003 when Johnnie To and Wai Ka-fai directed RUNNING ON KARMA, Hong Kong was haunted by the specter of SARS and the dread of living under the draconian possibilities of the anti-subversion regulations of Article 23.  Hong Kong cinema had been in decline for several years, hounded by Hollywood as a magnet for its creative talent and a competitor for the domestic as well as regional box office in Asia.  Suspended between mainland China and American film, Hong Kong filmmakers like To and Wai turned not to one or the other but to a hybrid mix that could confront this dual challenge in one fantasy.  Their decision involved a story featuring a former Buddhist monk from mainland China turned bodybuilder/male stripper (played by Andy Lau in a muscle suit), who can “see” the past lives of the people he encounters.  He comes to the aid of a Hong Kong policewoman, Lee Fung-yee (Cecilia Cheung), who suffers from very “bad karma,” being troubled by her past life in which she served as a Japanese soldier during the Occupation.  PRC censors frown on ghost stories which they vilify as “superstitious,” but RUNNING ON KARMA defiantly showcases cinematic apparitions, Buddhist-inspired action/fantasy, and a mixture of horror, noir, and romantic comedy to confront the malaise associated with 2003, head on.

Chiaroscuro shadows, faces within the mise-en-scene, the cityscape of Hong Kong appearing in darkness punctuated by the neon of nightclub signs and the glare of police car lights and exteriors outside the city take on the quality of dreamscapes displaced from the daylight by the low-key gloom of memory.  Images emerge, as the theme of karmic return implies, “out of the past,” and, as in film noir generally, the characters shoulder this burden of history (social, cultural, political, and personal).  RUNNING ON KARMA engages, then, with global pop aesthetics but the film goes beyond Hollywood’s constraints to address themes of loss, betrayal, predestination, alienation, and existential despair that defy the boundaries of any specific genre and speak to ghosts haunting Hong Kong at a highly vulnerable moment in its recent history.  This paper examines the various ways in which RUNNING ON KARMA haunts (and is haunted by) Hong Kong’s geopolitical position and the aesthetics of global cinema.

Downloads

How to Cite

มาร์เชตตี จ. (2016). หลอกหลอนโดยฮอลลีวูด: ภาพยนตร์ฮ่องกงนัวร์ สยองขวัญ และ คนมหากาฬใหญ่ทะลุโลก. Journal of Letters, 42(1), 1–28. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jletters/article/view/51099