แม่น้ำโขงกับการเป็นเวทีของประเพณีประดิษฐ์ในอีสาน

Authors

  • ปฐม หงษ์สุวรรณ รองศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Keywords:

ประเพณีประดิษฐ์, ชุมชนลุ่มแม่น้ำโขง, อีสาน, ความเชื่อและพิธีกรรม, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, invented tradition, Mekong riverine communities, Esan, belief and ritual, cultural tourism

Abstract

บทความวิจัยเรื่องนี้ ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำเสนอภาพและความหมายของ  แม่น้ำโขงในฐานะที่ถูกสร้างให้กลายเป็นเวทีของประเพณีประดิษฐ์ในชุมชนลุ่มแม่น้ำโขง แถบอีสาน โดยศึกษาจากประเพณีที่กลุ่มคนริมน้ำโขงได้ปฏิบัติสืบต่อกันมา อันเป็นเรื่องราวที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นในเขตอำเภอต่างๆ ของ 7 จังหวัดภาคอีสาน โดยมุ่งเน้นศึกษาเฉพาะในพื้นที่ที่ติดกับลำน้ำโขงเป็นหลัก

ทั้งนี้ ผู้เขียนได้จำแนกประเพณีที่สร้างขึ้นในชุมชนลุ่มน้ำโขงแถบอีสานเหล่านี้ออกได้เป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ 1) การเป็นเวทีของประเพณีแนวจารีตดั้งเดิม 2) การเป็นเวทีของประเพณีแนวพระพุทธศาสนา 3) การเป็นเวทีของประเพณีแนวอนุรักษ์ธรรมชาติ 4) การเป็นเวทีของประเพณีแนวความสัมพันธ์ข้ามชาติ และ 5) การเป็นเวทีของประเพณีแนวท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชาติพันธุ์

สำหรับวิธีการประดิษฐ์สร้างภาพลักษณ์แม่น้ำโขงให้กลายเป็นเวทีของประเพณีประดิษฐ์ในชุมชนอีสานลุ่มน้ำโขงนั้น พบว่ามีวิธีการใน 4 ลักษณะ ได้แก่ 1) การหยิบยืมประเพณีจากท้องถิ่นอื่น 2) การรื้อฟื้นประเพณีเก่า 3) การอนุรักษ์สืบสานประเพณี และ 4) การประดิษฐ์ประเพณีใหม่ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนสะท้อนให้เห็นการนำภูมิปัญญา ความรู้ ความคิด ความเชื่อ ตลอดจนค่านิยมที่มีความหลากหลายและซับซ้อนในวิธีคิดของผู้คนชุมชนลุ่มแม่น้ำโขง ด้วยการประยุกต์ใช้ของเก่ามาแปรรูปภายใต้บริบทใหม่ซึ่งมีแง่มุมที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชาวอีสาน อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงการใช้ “ข้อมูลทาง คติชนแบบสร้างสรรค์” (Creative of Folklore) ด้วยการนำเสนอภาพและสร้างความหมายของแม่น้ำโขงให้มีฐานะเป็นเสมือน “เวทีของประเพณีประดิษฐ์” ที่มีกระบวนการปรับเปลี่ยนทางวัฒนธรรมหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการแพร่กระจาย การผสมกลมกลืน การครอบงำและการผลิตใหม่ภายใต้บริบทของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทยได้อย่างน่าสนใจ

 

The Mekong River  as a Stage for Invented Traditions in Esan

Pathom Hongsuwan

Associate Professor, Department of Thai and Eastern Languages, Faculty of Humanities and Social Sciences, Mahasarakham University

This research article explores the image and significance of the Mekong River, which has been transformed into a stage for invented traditions for northeastern Thai communities along the river. The traditions studied are passed on from one generation to another by people in districts in seven Northeastern provinces.  The study focuses solely on areas adjacent to the Mekong.

The researcher divides these invented traditions into five categories: 1) customary traditions, 2) Buddhist traditions, 3) nature conservation traditions, 4) cross-national relations traditions, and 5) ethnic and cultural tourism traditions

The research has found that the Mekong River has been transformed into a stage for invented traditions in the riverine communities through four channels: 1) borrowing traditions from other communities, 2) revival of old traditions, 3) continuing old traditions and 4) newly inventing traditions. 

The findings reveal that people in these communities have used their multi-faceted folk wisdom, knowledge, beliefs and values to adapt old customs to new cultural contexts which are related to their Esan culture and ways of life. In addition, this study exemplifies how folklore is creatively used to present the image and significance of the Mekong as “a stage for invented traditions” whether through cultural dissemination, cultural assimilation, cultural domination and cultural reproduction in the context of social change in Thailand.

Downloads

How to Cite

หงษ์สุวรรณ ป. (2016). แม่น้ำโขงกับการเป็นเวทีของประเพณีประดิษฐ์ในอีสาน. Journal of Letters, 42(2), 169–217. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jletters/article/view/50707