ภาพลักษณ์ “หมู่บ้านวัฒนธรรมหนองขาว” จากวิธีคิดในการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวในงานประเพณีเทศน์มหาชาติ

Authors

  • ปรมินท์ จารุวร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

หมู่บ้านวัฒนธรรม, ประเพณีเทศน์มหาชาติ, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, คติชนประเภทวัตถุ, หนองขาว กาญจนบุรี, cultural village, chanting tradition of Vessantara Jataka, cultural tourism, material folklore, Nong Khao Kanchanaburi

Abstract

บทความนี้มุ่งศึกษาวิธีคิดในการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวในงานประเพณีเทศน์มหาชาติ และวิเคราะห์ภาพลักษณ์ “หมู่บ้านวัฒนธรรมหนองขาว” ที่นำเสนอผ่านการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า ประเพณีเทศน์มหาชาติที่บ้านหนองขาวเน้นความสัมพันธ์ของชาวบ้านในฐานะที่เป็น “คนใน” อย่างมาก และมีวิธีคิดในการจัดการท่องเที่ยวที่เน้นการสืบทอดประเพณีตามที่เคยปฏิบัติมาอย่างเหนียวแน่น ทำให้นักท่องเที่ยวในฐานะ “คนนอก” สามารถร่วมกิจกรรมการท่องเที่ยว คือ การร่วมชมขบวนแห่ และชมคติชนประเภทวัตถุประเภทต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของประเพณีเทศน์มหาชาติของชุมชนแห่งนี้ตามที่ได้จัดแสดงไว้มากกว่าการเข้าร่วมฟังเทศน์มหาชาติร่วมกับคนในชุมชน อย่างไรก็ตาม ธรรมเนียมปฏิบัติที่สะท้อนให้เห็นความร่วมมือและการแบ่งหน้าที่กันในชุมชนอย่างชัดเจน ทุกครัวเรือนมีส่วนร่วมในประเพณีเทศน์มหาชาติ ทำให้เกิดภาพลักษณ์ของการเป็นชุมชนเข้มแข็งที่ยังคงสืบทอดวิถีชีวิตในอดีตไว้ได้ท่ามกลางสังคมไทยร่วมสมัย

 

The Image of “Nong Khao Cultural Village” As Seen through the Organization of Tourist Activities during the Thet Mahachat Festival

Poramin Jaruworn

**  Assistant Professor, Department of Thai, Faculty of Arts, Chulalongkorn University

This article examines tourist activities during the Thet Mahachat Festivaland analyzes the image of “Nong Khao Cultural Village” as seen through these activities. It was found that the Thet Mahachat  festival at Nong Khao village places a great deal of emphasis on the relationship between its residents as “insiders” while events organized for tourists continue to hold strongly to local traditions. As a result, while holiday makers, as “outsiders”, may be welcomed to take part in activities such as watching processions and displays of folklore artifacts, which are an integral part of the festival, they tend to be excluded from joining community residents in listening to the Mahachat sermon. However, what stands out is that because people in the village all contribute to the festival, each with their own duty, it has been possible for them to retain their traditional way of life in a changing contemporary society.

Downloads

How to Cite

จารุวร ป. (2016). ภาพลักษณ์ “หมู่บ้านวัฒนธรรมหนองขาว” จากวิธีคิดในการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวในงานประเพณีเทศน์มหาชาติ. Journal of Letters, 42(2), 133–168. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jletters/article/view/50703